ความเป็นมาและความสำคัญของผ้าทอไทย
ผ้าที่คนไทยเราใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มนั้นจะค้นคิดประดิษฐ์ได้สำเร็จตั้งแต่เมื่อไรนั้น
ไม่มีหลักฐานแน่นอนเด่นชัด ทราบแต่ว่าคนไทยเรารู้จักนำเอาฝ้าย ปอ และไหม
มาทอเป็นผ้าได้นานแล้ว ปัจจุบันเจริญขึ้นถึงขั้นค้นคิดประดิษฐ์ใยสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมาทอเป็นผ้าดังที่พบอยู่มากมาย
หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะที่พบแสดงให้เห็นว่า
บนแผ่นดินไทยมีร่องรอยการใช้ผ้าและทอผ้าได้ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
คือ เมื่อราว ๕,๐๐๐ ปี มาแล้ว และสืบทอดต่อมาตลอดทั้งสมัยทวารวดี ศรีวิชัย และลพบุรี
ในจดหมายเหตุจีนที่บันทึกเกี่ยวกับดินแดนของไทยไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย เมื่อพุทธศตวรรษที่
๑๐-๑๑ และได้มีการลอก ต่อๆ มา ปรากฏข้อความเกี่ยวกับผ้าบันทึกอยู่ในภาพเขียน
"คนไทย" จากส่วนหนึ่งของแผ่นภาพบันทึกเรื่องชาติที่ถวายเครื่องราชบรรณาการจีนภาพนี้เขียนโดยเซียะสุย
(Hsich-Sui) จิตรกรแห่งราชสำนักจีน ใน ค.ศ. ๑๗๖๒ (พ.ศ. ๒๓๐๕)
รัชกาลพระเจ้าเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิงซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์หรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์
บันทึกเป็นข้อความภาษาจีนและภาษาแมนจู แปลได้ความว่า
"สยาม" ตั้งอยู่บนบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแจ้นเฉิน ในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังเรียกประเทศนี้ว่า "ซื่อถู่กวั๋ว" แปลว่าประเทศที่มีดินสีแดงต่อมา ซื่อถู่กวั๋ว ได้รับการแบ่งออกเป็นสองรัฐ รัฐหนึ่งเรียกว่า หลัวฮู่ อีกรัฐหนึ่งเรียกว่า ฉ้วน (เสียน หรือ เสียมในภาษาแต้จิ๋ว)ต่อมารัฐฉ้วนถูกรัฐหลัวฮู่เข้าตีและรวมกันได้พระเจ้าหงอู่ แห่งราชวงศ์หมิง จึงทรงเรียกประเทศใหม่ว่า "ฉ้วนหลัว" ซึ่งได้ส่งเครื่องบรรณาการมาถวายพระเจ้ากรุงจีน และรัฐทั้งสองอ่อนน้อมเชื่อฟังจีนมาก
ประเทศฉ้วนหลัวมีเนื้อที่ ๑,๐๐๐ ลี้ ประกอบด้วยรัฐต่างๆ ๙ รัฐเมืองใหญ่ๆ ๑๔ เมือง กับอีก ๗๒ จังหวัด
ตำแหน่งขุนนางมี ๙ ชั้น ๔ ชั้นแรกปกติจะสวมหมวกทองที่มียอดสูง และประดับด้วยอัญมณีต่างๆ ชั้นต่ำลงมาใช้ผ้าโพกศีรษะ ซึ่งจีนเรียกว่าหลงต้วน ทำด้วยผ้าไหม กำมะหยี่ ผ้าเหล่านี้ปักอย่างสวยงามและทอด้วยเส้นทอง หรือมีผ้าสั้นที่มีลายพิเศษด้านนอก ผู้ชายมีผ้าคาดเอวทำด้วยผ้าปักไหม ผู้หญิงมีปิ่นทองหรือปิ่นเงินปักผมผ้าคลุมชั้นนอกมี ๕ สี ส่วนผ้าชั้นในมีสีสันสวยงามและทอผสมกับเส้นทอง ผ้านุ่งยาวมากกว่าตัวผู้นุ่ง ๒-๓ ชั้น และผู้หญิงจะสวมรองเท้าหนังสีแดง"
บันทึกนี้เป็นหลักฐานที่สำคัญที่สนับสนุนถึงความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของคนไทยที่มีมานานนับพันปีได้อย่างดียิ่งหลักฐานหนึ่ง โดยเฉพาะในเรื่องผ้าซึ่งปรากฏว่า เราสามารถผลิตได้เองและได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ นำผ้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้ประโยชน์ต่างๆ ตลอดมา
สมัยเชียงแสนหรือล้านนาไทย (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๔)
"เชียงแสน" ปัจจุบันเป็นชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย นักโบราณคดีได้กำหนดแบบศิลปกรรมภาคเหนือขึ้น เรียกว่า ศิลปะเชียงแสน อาณาจักรเชียงแสนหรือปัจจุบันนิยมเรียกว่า อาณาจักรล้านนาไทย เพื่อให้มีความหมายกว้างขึ้น หมายถึงเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือหรือเขตจังหวัดต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่และน่าน เป็นต้น อาณาจักรนี้มีความเจริญ มีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นแบบหนึ่งโดยเฉพาะพงศาวดารเมืองหริภุญไชย กล่าวถึงความเจริญของบริเวณภาคเหนือโดยเฉพาะที่เมืองหริภุญไชย ซึ่งคือลำพูนในปัจจุบันว่า เจริญมาแต่ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ พระนางจามเทวีพระราช-ธิดากษัตริย์ละโว้เสด็จไปครองเมืองหริภุญไชยเมืองนี้เจริญสืบต่อมาจนถึงสมัยที่พระเจ้าเม็งรายเสด็จจากเชียงแสนมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์-กลางของภาคเหนือจึงย้ายจากลำพูนมาอยู่ที่เชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๓๙ เป็นต้นมา
อาณาจักรล้านนามีผ้าใช้กันแล้วเช่นเดียวกับอาณาจักรอื่นๆ ในยุคเดียวกัน หรือที่เจริญในระยะเวลาร่วมสมัยกัน ในการทำบุญทางศาสนา มีการถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ซึ่งมีผ้ารวมอยู่ด้วย เช่น ถวายจีวรห่มแก่พระ และผ้าอื่นๆ ให้เป็นทานแก่คนยากจน มีผ้าแพร ผ้าสักหลาด ผ้าสีจันทน์ขาว ผ้าสีจันทน์แดง ผ้าสีดอกจำปา และผ้าธรรมดา พวกชนชั้นสูงมีผ้ากัมพลใช้พันเอว ในทางศาสนาผ้าที่เป็นเครื่องใช้สำหรับพระสงฆ์ มี รัดประคดผ้าผลัดอาบน้ำ อาสนะปูนั่ง ผ้าปูลาดและผ้ากรองน้ำ นอกเหนือไปจากไตรจีวร
เราได้ความรู้จากพงศาวดารนั้นอีกว่า ทหารแต่งกายด้วยผ้าสีเขียว ชาวเมืองที่เดือนร้อนได้รับแจกผ้านุ่งห่ม ผ้าเหล่านี้คงจะทอขึ้นใช้เองภายในเมือง จิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน แสดงให้เห็นการแต่งกายของชาวเหนือโดยเฉพาะผ้านุ่งของผู้หญิง แสดงลวดลายของผ้าซิ่น ซึ่งเรียกว่า ลายน้ำไหล ยังมีใช้กันอยู่ทางภาคเหนือในปัจจุบัน นอกจากนี้จิตรกรรมที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ และที่อุโบสถวัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ที่วิหารพระเจ้าล้านทองรอบศาลาการเปรียญ วัดพระธาตุลำปางหลวงจังหวัดลำปาง ล้วนแสดงให้เห็นถึงลักษณะลวด-ลายผ้าไหมและผ้าซิ่นที่ใช้สืบต่อกันเรื่อยมา
ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "เมื่อขุนเจื๊อง (เจียง) รับคำท้ารบของพระยาแมนตาตอกครอบฟ้าตาหยืดแล้ว เห็นว่าตนจะแพ้แน่แล้ว ก็เปลื้องเสื้อและผ้าพันพระเศียรใส่ผอบทองคำ ใช้อำมาตย์คนหนึ่งเอากลับมาให้นางอัครมเหสี" ในตำนานพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดแพร่ ก็มีข้อความว่า "...เมื่อปี (พ.ศ.) ๒๓๖พระโสณะและพระอุตตระ ได้นำเอาพระเกษามาบรรจุที่เขานี้ เจ้าผู้ครองนครแพร่ในเวลานั้นมีพระนามว่า เจ้าก้อมหรือสระอ้ายก้อม มีความเลื่อมใสมากจึงเปลื้องเอาผ้าแพร (คนพื้นเมืองเรียก ผ้าแฮ) ซึ่งโพกศีรษะออกรองรับพระเกษา..."
ตำนานทั้งสองนี้แสดงว่า ในสมัยเชียงแสนหรือ ล้านนาไทย คนไทยรู้จักนำผ้ามาตัดเย็บเป็นเสื้อสวมใส่ และนำผ้าแพรมาพันโพกศีรษะ ซึ่งคงไว้ผมยาวและมุ่นมวยไว้
"สยาม" ตั้งอยู่บนบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแจ้นเฉิน ในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังเรียกประเทศนี้ว่า "ซื่อถู่กวั๋ว" แปลว่าประเทศที่มีดินสีแดงต่อมา ซื่อถู่กวั๋ว ได้รับการแบ่งออกเป็นสองรัฐ รัฐหนึ่งเรียกว่า หลัวฮู่ อีกรัฐหนึ่งเรียกว่า ฉ้วน (เสียน หรือ เสียมในภาษาแต้จิ๋ว)ต่อมารัฐฉ้วนถูกรัฐหลัวฮู่เข้าตีและรวมกันได้พระเจ้าหงอู่ แห่งราชวงศ์หมิง จึงทรงเรียกประเทศใหม่ว่า "ฉ้วนหลัว" ซึ่งได้ส่งเครื่องบรรณาการมาถวายพระเจ้ากรุงจีน และรัฐทั้งสองอ่อนน้อมเชื่อฟังจีนมาก
ประเทศฉ้วนหลัวมีเนื้อที่ ๑,๐๐๐ ลี้ ประกอบด้วยรัฐต่างๆ ๙ รัฐเมืองใหญ่ๆ ๑๔ เมือง กับอีก ๗๒ จังหวัด
ตำแหน่งขุนนางมี ๙ ชั้น ๔ ชั้นแรกปกติจะสวมหมวกทองที่มียอดสูง และประดับด้วยอัญมณีต่างๆ ชั้นต่ำลงมาใช้ผ้าโพกศีรษะ ซึ่งจีนเรียกว่าหลงต้วน ทำด้วยผ้าไหม กำมะหยี่ ผ้าเหล่านี้ปักอย่างสวยงามและทอด้วยเส้นทอง หรือมีผ้าสั้นที่มีลายพิเศษด้านนอก ผู้ชายมีผ้าคาดเอวทำด้วยผ้าปักไหม ผู้หญิงมีปิ่นทองหรือปิ่นเงินปักผมผ้าคลุมชั้นนอกมี ๕ สี ส่วนผ้าชั้นในมีสีสันสวยงามและทอผสมกับเส้นทอง ผ้านุ่งยาวมากกว่าตัวผู้นุ่ง ๒-๓ ชั้น และผู้หญิงจะสวมรองเท้าหนังสีแดง"
บันทึกนี้เป็นหลักฐานที่สำคัญที่สนับสนุนถึงความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของคนไทยที่มีมานานนับพันปีได้อย่างดียิ่งหลักฐานหนึ่ง โดยเฉพาะในเรื่องผ้าซึ่งปรากฏว่า เราสามารถผลิตได้เองและได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ นำผ้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้ประโยชน์ต่างๆ ตลอดมา
สมัยเชียงแสนหรือล้านนาไทย (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๔)
"เชียงแสน" ปัจจุบันเป็นชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย นักโบราณคดีได้กำหนดแบบศิลปกรรมภาคเหนือขึ้น เรียกว่า ศิลปะเชียงแสน อาณาจักรเชียงแสนหรือปัจจุบันนิยมเรียกว่า อาณาจักรล้านนาไทย เพื่อให้มีความหมายกว้างขึ้น หมายถึงเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือหรือเขตจังหวัดต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่และน่าน เป็นต้น อาณาจักรนี้มีความเจริญ มีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นแบบหนึ่งโดยเฉพาะพงศาวดารเมืองหริภุญไชย กล่าวถึงความเจริญของบริเวณภาคเหนือโดยเฉพาะที่เมืองหริภุญไชย ซึ่งคือลำพูนในปัจจุบันว่า เจริญมาแต่ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ พระนางจามเทวีพระราช-ธิดากษัตริย์ละโว้เสด็จไปครองเมืองหริภุญไชยเมืองนี้เจริญสืบต่อมาจนถึงสมัยที่พระเจ้าเม็งรายเสด็จจากเชียงแสนมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์-กลางของภาคเหนือจึงย้ายจากลำพูนมาอยู่ที่เชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๓๙ เป็นต้นมา
อาณาจักรล้านนามีผ้าใช้กันแล้วเช่นเดียวกับอาณาจักรอื่นๆ ในยุคเดียวกัน หรือที่เจริญในระยะเวลาร่วมสมัยกัน ในการทำบุญทางศาสนา มีการถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ซึ่งมีผ้ารวมอยู่ด้วย เช่น ถวายจีวรห่มแก่พระ และผ้าอื่นๆ ให้เป็นทานแก่คนยากจน มีผ้าแพร ผ้าสักหลาด ผ้าสีจันทน์ขาว ผ้าสีจันทน์แดง ผ้าสีดอกจำปา และผ้าธรรมดา พวกชนชั้นสูงมีผ้ากัมพลใช้พันเอว ในทางศาสนาผ้าที่เป็นเครื่องใช้สำหรับพระสงฆ์ มี รัดประคดผ้าผลัดอาบน้ำ อาสนะปูนั่ง ผ้าปูลาดและผ้ากรองน้ำ นอกเหนือไปจากไตรจีวร
เราได้ความรู้จากพงศาวดารนั้นอีกว่า ทหารแต่งกายด้วยผ้าสีเขียว ชาวเมืองที่เดือนร้อนได้รับแจกผ้านุ่งห่ม ผ้าเหล่านี้คงจะทอขึ้นใช้เองภายในเมือง จิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน แสดงให้เห็นการแต่งกายของชาวเหนือโดยเฉพาะผ้านุ่งของผู้หญิง แสดงลวดลายของผ้าซิ่น ซึ่งเรียกว่า ลายน้ำไหล ยังมีใช้กันอยู่ทางภาคเหนือในปัจจุบัน นอกจากนี้จิตรกรรมที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ และที่อุโบสถวัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ที่วิหารพระเจ้าล้านทองรอบศาลาการเปรียญ วัดพระธาตุลำปางหลวงจังหวัดลำปาง ล้วนแสดงให้เห็นถึงลักษณะลวด-ลายผ้าไหมและผ้าซิ่นที่ใช้สืบต่อกันเรื่อยมา
ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "เมื่อขุนเจื๊อง (เจียง) รับคำท้ารบของพระยาแมนตาตอกครอบฟ้าตาหยืดแล้ว เห็นว่าตนจะแพ้แน่แล้ว ก็เปลื้องเสื้อและผ้าพันพระเศียรใส่ผอบทองคำ ใช้อำมาตย์คนหนึ่งเอากลับมาให้นางอัครมเหสี" ในตำนานพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดแพร่ ก็มีข้อความว่า "...เมื่อปี (พ.ศ.) ๒๓๖พระโสณะและพระอุตตระ ได้นำเอาพระเกษามาบรรจุที่เขานี้ เจ้าผู้ครองนครแพร่ในเวลานั้นมีพระนามว่า เจ้าก้อมหรือสระอ้ายก้อม มีความเลื่อมใสมากจึงเปลื้องเอาผ้าแพร (คนพื้นเมืองเรียก ผ้าแฮ) ซึ่งโพกศีรษะออกรองรับพระเกษา..."
ตำนานทั้งสองนี้แสดงว่า ในสมัยเชียงแสนหรือ ล้านนาไทย คนไทยรู้จักนำผ้ามาตัดเย็บเป็นเสื้อสวมใส่ และนำผ้าแพรมาพันโพกศีรษะ ซึ่งคงไว้ผมยาวและมุ่นมวยไว้
สมัยสุโขทัย (ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๖๓)
ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงบอกให้เราทราบว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชบิดาของพระองค์ ได้ประกาศตั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐
ในจดหมายเหตุของราชทูตจีน หรือบันทึกพวกพ่อค้า มีข้อความกล่าวถึงผ้าที่ใช้ในสมัยนั้นอยู่บ้าง ดังเช่น ผ้าที่นำมาทำเป็นฉลองพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดิน "...เสี่ยงอี่ (ภูษาเฉียง) ยาวสามเชียะ ใช้แพรตึ้งห้าสี เหียอี (ภูษาทรง) ทำด้วยด้ายห้าสี เอ๋ย, บ๊วย (ฉลองพระบาท,ถุงพระบาท) ทำด้วยแพรตึ้งสีแดง... ใช้ผ้าขาวพันศีรษะ ใช้หมวกทำด้วยแพรตึ้ง และทำด้วยกำมะหยี่ นุ่งห่ม ใช้ผ้าสองผืน... ผ้าห่มทำด้วยด้ายห้าสียกดอกผ้านุ่งทำด้วยด้ายห้าสี แต่เอาไหมทองยกดอก..."
บันทึกนี้บอกให้ทราบได้ว่า ในสมัยสุโขทัยนั้นผ้าที่มีค่า คือ ผ้าไหม ผ้าแพร ผ้ากำมะหยี่ และรองลงมาคือ ผ้าที่ท่อด้วยด้ายหรือฝ้ายและย้อมเป็นสีต่างๆ ที่เรียกว่า ห้าสี คงได้แก่ สีดำ สีขาวสีแดง สีเขียวและสีเหลือง ครั้งนั้น เรียกว่า ผ้าเบญจรงค์ คนจีนในสมัยนั้นเรียกคนไทยว่า "เสียน" และว่าคนไทยทอผ้าได้ดี รู้จักเย็บผ้าซึ่งในสมัยนั้น นับเป็นเทคนิคใหม่และยาก ดังบันทึกของโจวต้ากวาน พ.ศ. ๑๘๙๓ ว่า "ชาวเสียนใช้ไหมทอเป็นผ้าแพรบางๆ สีดำ ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มผู้หญิงเสียนนั้นเย็บชุนเป็น...." คราวที่กรุงสุโขทัยรับรองพระมหาเถรจากนครพัน มาจำพรรษาเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๔ กษัตริย์ได้รับสั่งให้ใช้ผ้าเบญจรงค์ปูลาดพื้น "...แล้วเสด็จให้ปูลาดซึ่งผ้าเบญจรงค์ไม่ให้พระบาทลงยังพื้นธรณีทุกแห่ง..." การใช้ผ้าหรือพรมปูลาดพื้นต้อนรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระสังฆราชในการเสด็จพระราชดำเนินนั้น เป็นประเพณีของไทยมาช้านาน ถือว่าเป็นการแสดงคารวะอย่างสูง
หนังสือไตรภูมิพระร่วง ทำให้เราทราบถึงผ้าที่นำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น ผ้าขาวเนื้อดี ซึ่งเรียกว่า ผ้าสุกุลพัสตร์ ผ้าเล็กหลก ผ้าสำลี ผ้าชมพู ผ้าหนง ผ้ากรอบ หลักฐานต่างๆ ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คนไทยแม้มีความเชี่ยวชาญในการทอผ้า แต่ก็นิยมสั่งซื้อผ้าจากต่างประเทศ เช่น จีนและอินเดียด้วย ส่วนการทอนั้นน่าจะเกิดจากประสบการณ์ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานานดังคำที่กล่าวว่า "...หน้าแล้งผู้หญิงทอผ้าผู้ชายตีเหล็ก..." นอกจากจะสั่งซื้อผ้าไหมจากจีนแล้ว เวลาที่ไทยส่งราชฑูตไปเฝ้าพระจักรพรรดิจีนหรือพระจักรพรรดิจีนส่งราชฑูตมาตอบแทน ก็มักจะส่งเครื่องราชบรรณาการตอบแทนด้วยในบรรดาเครื่องราชบรรณาการเหล่านี้จะมีผ้ารวมอยู่ด้วยอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นผ้าแพร โดยส่งมาเป็นร้อยๆ ม้วน แพรนี้มีหลายชนิด แต่ที่เป็นเครื่องราชบรรณาการมักเป็นแพรหมังตึ้ง นอกจากผ้าจากเมืองจีนแล้ว ยังมีผ้าจากอินเดียมาจำหน่ายด้วย ได้แก่ ผ้าเบงกะลีหรือเจตครี
นอกจากจะใช้ผ้าทำเครื่องนุ่งห่มแล้วก็ยังนำผ้ามาตกแต่งบ้านเรือน ทำหมอนนั่ง หมอนนอน ฟูก ธงทิว สัปทน ม่าน ฯลฯ ในการทำบุญจะมีผ้าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งโดยถวายเป็นจีวรบ้างผ้าเช็ดหน้าบ้าง ถวายเป็นกองก็มี เป็นผืนๆ ก็มีบางครั้งนำผ้าแพรมาสอดกากะเยีย ซึ่งเป็นที่ตั้งรองคัมภีร์ใบลานในเวลาอ่านหนังสือต่างโต๊ะเล็ก ในปัจจุบัน บางครั้งนำมาทำผ้าสมุดลายปัก สำหรับห่อพระคัมภีร์ที่จารบนใบลาน เป็นต้น
ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงบอกให้เราทราบว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชบิดาของพระองค์ ได้ประกาศตั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐
ในจดหมายเหตุของราชทูตจีน หรือบันทึกพวกพ่อค้า มีข้อความกล่าวถึงผ้าที่ใช้ในสมัยนั้นอยู่บ้าง ดังเช่น ผ้าที่นำมาทำเป็นฉลองพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดิน "...เสี่ยงอี่ (ภูษาเฉียง) ยาวสามเชียะ ใช้แพรตึ้งห้าสี เหียอี (ภูษาทรง) ทำด้วยด้ายห้าสี เอ๋ย, บ๊วย (ฉลองพระบาท,ถุงพระบาท) ทำด้วยแพรตึ้งสีแดง... ใช้ผ้าขาวพันศีรษะ ใช้หมวกทำด้วยแพรตึ้ง และทำด้วยกำมะหยี่ นุ่งห่ม ใช้ผ้าสองผืน... ผ้าห่มทำด้วยด้ายห้าสียกดอกผ้านุ่งทำด้วยด้ายห้าสี แต่เอาไหมทองยกดอก..."
บันทึกนี้บอกให้ทราบได้ว่า ในสมัยสุโขทัยนั้นผ้าที่มีค่า คือ ผ้าไหม ผ้าแพร ผ้ากำมะหยี่ และรองลงมาคือ ผ้าที่ท่อด้วยด้ายหรือฝ้ายและย้อมเป็นสีต่างๆ ที่เรียกว่า ห้าสี คงได้แก่ สีดำ สีขาวสีแดง สีเขียวและสีเหลือง ครั้งนั้น เรียกว่า ผ้าเบญจรงค์ คนจีนในสมัยนั้นเรียกคนไทยว่า "เสียน" และว่าคนไทยทอผ้าได้ดี รู้จักเย็บผ้าซึ่งในสมัยนั้น นับเป็นเทคนิคใหม่และยาก ดังบันทึกของโจวต้ากวาน พ.ศ. ๑๘๙๓ ว่า "ชาวเสียนใช้ไหมทอเป็นผ้าแพรบางๆ สีดำ ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มผู้หญิงเสียนนั้นเย็บชุนเป็น...." คราวที่กรุงสุโขทัยรับรองพระมหาเถรจากนครพัน มาจำพรรษาเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๔ กษัตริย์ได้รับสั่งให้ใช้ผ้าเบญจรงค์ปูลาดพื้น "...แล้วเสด็จให้ปูลาดซึ่งผ้าเบญจรงค์ไม่ให้พระบาทลงยังพื้นธรณีทุกแห่ง..." การใช้ผ้าหรือพรมปูลาดพื้นต้อนรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระสังฆราชในการเสด็จพระราชดำเนินนั้น เป็นประเพณีของไทยมาช้านาน ถือว่าเป็นการแสดงคารวะอย่างสูง
หนังสือไตรภูมิพระร่วง ทำให้เราทราบถึงผ้าที่นำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น ผ้าขาวเนื้อดี ซึ่งเรียกว่า ผ้าสุกุลพัสตร์ ผ้าเล็กหลก ผ้าสำลี ผ้าชมพู ผ้าหนง ผ้ากรอบ หลักฐานต่างๆ ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คนไทยแม้มีความเชี่ยวชาญในการทอผ้า แต่ก็นิยมสั่งซื้อผ้าจากต่างประเทศ เช่น จีนและอินเดียด้วย ส่วนการทอนั้นน่าจะเกิดจากประสบการณ์ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานานดังคำที่กล่าวว่า "...หน้าแล้งผู้หญิงทอผ้าผู้ชายตีเหล็ก..." นอกจากจะสั่งซื้อผ้าไหมจากจีนแล้ว เวลาที่ไทยส่งราชฑูตไปเฝ้าพระจักรพรรดิจีนหรือพระจักรพรรดิจีนส่งราชฑูตมาตอบแทน ก็มักจะส่งเครื่องราชบรรณาการตอบแทนด้วยในบรรดาเครื่องราชบรรณาการเหล่านี้จะมีผ้ารวมอยู่ด้วยอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นผ้าแพร โดยส่งมาเป็นร้อยๆ ม้วน แพรนี้มีหลายชนิด แต่ที่เป็นเครื่องราชบรรณาการมักเป็นแพรหมังตึ้ง นอกจากผ้าจากเมืองจีนแล้ว ยังมีผ้าจากอินเดียมาจำหน่ายด้วย ได้แก่ ผ้าเบงกะลีหรือเจตครี
นอกจากจะใช้ผ้าทำเครื่องนุ่งห่มแล้วก็ยังนำผ้ามาตกแต่งบ้านเรือน ทำหมอนนั่ง หมอนนอน ฟูก ธงทิว สัปทน ม่าน ฯลฯ ในการทำบุญจะมีผ้าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งโดยถวายเป็นจีวรบ้างผ้าเช็ดหน้าบ้าง ถวายเป็นกองก็มี เป็นผืนๆ ก็มีบางครั้งนำผ้าแพรมาสอดกากะเยีย ซึ่งเป็นที่ตั้งรองคัมภีร์ใบลานในเวลาอ่านหนังสือต่างโต๊ะเล็ก ในปัจจุบัน บางครั้งนำมาทำผ้าสมุดลายปัก สำหรับห่อพระคัมภีร์ที่จารบนใบลาน เป็นต้น
สมัยอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐)
การใช้ผ้าในสมัยกรุงศรีอยุธยาระยะแรกๆคงคล้ายกับสมัยสุโขทัยคือ ใช้ผ้าที่ทอได้ในประเทศ และที่ซื้อจากจีนและอินเดีย ต่อมาระยะหลังเมื่อมีการค้ากับชาวยุโรปจึงนิยมผ้าจากยุโรปอีกด้วย
ตำนานวังเก่า ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓ทำให้ทราบว่า กรุงศรีอยุธยามีแหล่งขายผ้าต่างๆ หลายแห่ง กล่าวได้ว่าเป็นตลาดจำหน่ายผ้าที่ใหญ่มาก ดังความว่า "...บ้านป่าชมภูขายผ้าชมภูคาดราดตคตหนังไก่ ผ้าชมภูเลว ผ้าดิบเลว ย่านป่าไหมป่าเหล็กฟากถนนซีกหนึ่ง ขายไหมครุยไหมฟั่นไหมเบญจพรรณ ย่านป่าฟูกขายแต่ฟูกแลหมอนเมาะย่านทุ่งหมากก็ว่าเสื้อเขียว เสื้อขาว เสื้อจีบเอวเสื้อฉีกอก เสื้อกรอมหัว กางเกงเขียว กางเกงขาวล่วมสักหลาด ล่วมเลว ถุงหมากสักหลาดปักทองประดับกระจก ถุงหมากเลว ถุงยาสูบปักทองประดับกระจก ถุงยาสูบผ้าลายต่างกันสำหรับทิ้งทาน ซองพลูสักหลาดปักทองประดับกระจกซองพลูเลวสักหลาดเขียวแดง แล้วรับผ้าแขกจามวัดแก้วฟ้า วัดลอดช่องมาใส่ร้านขาย...ป่าหน้าพระกาลมีร้านชำขายหัวไนโครงไนปั่นฝ้าย นอกจากนี้มี ...ย่านป่าผ้าเหลือง ย่านจวนคลังทำหีบฝ้ายขาย ย่านป่าต้องขายฝ้าย"
ย่านทั้งหมดดังกล่าวเป็นแหล่งที่ขายผ้า และของที่เกี่ยวเนื่องกับผ้าจะเห็นว่ามีทั้งผ้าฝ้าย ผ้าไหมผ้าแพร ผ้าสองปักหรือสมปัก เชิงปูม ผ้าปูม และ ผ้าจวน ขายเส้นด้ายและอุปกรณ์การปั่นด้าย แสดงให้เห็นว่า มีการทอผ้ากันมาก นอกจากนี้ยังรู้จักเย็บเสื้อหลายแบบ ทั้งเสื้อจีบเอว เสื้อสวมหัวเสื้อผ่าด้านหน้าที่เรียกกันครั้งนั้นว่า เสื้อฉีกอกรู้จักเย็บกางเกงและนิยมนุ่งกางเกงด้วย ส่วนของใช้อื่น เช่น ถุงหมาก ถุงยาสูบ ซองพลู ก็ทราบว่าประดิษฐ์จากผ้าสักหลาดเป็นส่วนมาก และตกแต่งให้สวยงามด้วยการปักไหมทองหรือดิ้นทองแล้วประดับกระจก ซึ่งน่าจะคล้ายกับถุงต่างๆ ที่ส่งมาจากอินเดียในปัจจุบันใน พ.ศ. ๑๙๕๑ แผ่นดินสมเด็จพระนครินทราธิราช มีหลักฐานว่าในการทำบุญต่างๆ มักมีการบรรจุของมีค่าลงในสถูปเจดีย์ ไม่ว่าจะเป็นทองหรือสิ่งใด และจะเทียบราคาเป็นจำนวนผ้าคล้ายกับการตีราคาทาสด้วยจำนวนผ้า มีข้อความ ในจารึกแผ่นเงินหลักที่ ๔๘ ว่า "...ธ ให้ทานทองแปดตำลึง ตลับอันหนึ่ง ค่าผ้าล้านหนึ่ง..." กับปรากฏชื่อผ้าพิจิตรพัสตร์ และผ้าสนอบลาย
สถานที่ขายผ้าในกรุงศรีอยุธยา ยังมีอีกย่านหนึ่ง เรียกว่า ย่านฉะไกรใหญ่ ขายผ้าสุหรัด และผ้าขาว ที่วัดลอดช่องก็มีพวกแขกจามทอผ้าไหมกับผ้าด้ายขาย ย่านวัดขุนพรหมเขียนผ้าพิมพ์แสดงว่าผ้าพิมพ์นั้นภายในกรุงศรีอยุธยาก็มีทำที่ย่านวัดขุนพรหมด้วย นอกจากนี้ยังมีผ้าทอจากหัวเมืองมาขาย เช่น จากโคราชมีผ้าตาราง นอกจากนี้ยังมีผ้าสายบัว ผ้าขาวม้าแดง ซึ่งเมืองลพบุรีส่งเป็นส่วย (ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองจำนวนหนึ่ง ส่งเป็นภาคหลวง ตามวิธีเรียกเก็บภาษีอากรในสมัยโบราณ)
ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า กรุงศรีอยุธยาเป็นแหล่งค้าผ้าที่สำคัญของพ่อค้า นอกจากผ้าซึ่งเราทอเองแล้ว ยังมีผ้าสั่งเข้ามาจากเมืองจีน อินเดีย และประเทศทางยุโรป เช่น อังกฤษ ฮอลันดา ในเวลาต่อมาด้วย
การที่มีผ้ามากมายมาซื้อขายกันที่กรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วยนิสัยของคนไทยซึ่งพ่อค้ารู้ดีคือคนไทยชอบเปลี่ยนแบบและลายเขียนบนเสื้อผ้าอยู่เป็นนิจ สินค้าที่ขายดีในกรุงสยามได้แก่ ผ้าชนิดต่างๆ จากอินเดีย จากสุรัต และคาบลูนอกจากนี้ก็ได้แก่ ผ้าต่างๆ จากฝั่งโคโรมันเดลและการค้าขายผ้าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงขายและทรงควบคุมการส่งสินค้าผ้าออกไปยังหัวเมืองต่างๆ ที่นั่นจะมีคลังสินค้าตั้งอยู่ทำหน้าที่ขายของต่างๆ ให้กับประชาชน การใช้ผ้าในสมัยนั้น มิได้นำมานุ่งห่มแต่อย่างเดียว แต่คนไทยนิยมนำผ้ามาตกแต่งอาคารบ้านเรือน และทำเป็นเครื่องใช้อย่างอื่นอีกด้วย เช่นเดียวกับยุคก่อนๆ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความนิยมให้ลักษณะของผ้าเป็นเครื่องแสดงฐานะและตำแหน่งของผู้สวมใส่ ข้าราชการที่ทำความดีความชอบ พระเจ้าแผ่นดินก็จะทรงมีบำเหน็จรางวัลให้และของอย่างหนึ่งที่ใช้ปูนบำเหน็จรางวัลก็คือ ผ้า ขุนนางจะรับพระราชทานผ้าสมปักไว้นุ่งเข้าเฝ้า ผ้าพระราช-ทานนี้เปรียบเสมือนเงินเดือน แต่พระราชทานรายปี เรียกว่า ผ้าหวัดรายปี ผ้าสมปักมีหลายชนิดสำหรับฐานะและตำแหน่งแตกต่างกัน เช่น สมปักลายหัวหมื่นนายเวรใช้ สมปักไหมเจ้ากรมปลัดกรมใช้ ส่วนมหาดเล็กใช้ผ้าลาย บางทีการนุ่งผ้าสมปักก็ขึ้นอยู่กับโอกาสหรือพิธีบางอย่างอีกด้วย
ในการนำผ้ามาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มนั้น คนไทยมีความเชื่อในเรื่องสีด้วย ซึ่งมาจากการเชื่อถือเรื่อง เทวดาสัปตเคราะห์ หรือ แม่ซื้อ ๗ องค์ แต่ละองค์มีสีกายแตกต่างกันไป ซึ่งก็คือสีประจำวันทั้งเจ็ดนั่นเอง นั่นคือ วันอาทิตย์สวมเสื้อผ้าสีแดง วันจันทร์สวมสีขาวนวล วันอังคารสวมสีชมพู วันพุธสวมสีเขียว วันพฤหัสบดีสวมสีเหลืองอ่อน วันศุกร์สวมสีฟ้าอ่อน และวันเสาร์สวมสีดำ คนโบราณกำหนดวันนุ่งผ้าใหม่เป็นแบบข้างขึ้นข้างแรม เช่น ขึ้น ๔, ๖, ๙ ค่ำ ตัดผ้า เย็บผ้า นุ่งผ้าใหม่ดี จะได้ลาภ แรม ๔, ๑๑ ค่ำ ตัดผ้า เย็บผ้านุ่งผ้าใหม่ดี มีลาภ เป็นต้น
การใช้ผ้าในสมัยกรุงศรีอยุธยาระยะแรกๆคงคล้ายกับสมัยสุโขทัยคือ ใช้ผ้าที่ทอได้ในประเทศ และที่ซื้อจากจีนและอินเดีย ต่อมาระยะหลังเมื่อมีการค้ากับชาวยุโรปจึงนิยมผ้าจากยุโรปอีกด้วย
ตำนานวังเก่า ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓ทำให้ทราบว่า กรุงศรีอยุธยามีแหล่งขายผ้าต่างๆ หลายแห่ง กล่าวได้ว่าเป็นตลาดจำหน่ายผ้าที่ใหญ่มาก ดังความว่า "...บ้านป่าชมภูขายผ้าชมภูคาดราดตคตหนังไก่ ผ้าชมภูเลว ผ้าดิบเลว ย่านป่าไหมป่าเหล็กฟากถนนซีกหนึ่ง ขายไหมครุยไหมฟั่นไหมเบญจพรรณ ย่านป่าฟูกขายแต่ฟูกแลหมอนเมาะย่านทุ่งหมากก็ว่าเสื้อเขียว เสื้อขาว เสื้อจีบเอวเสื้อฉีกอก เสื้อกรอมหัว กางเกงเขียว กางเกงขาวล่วมสักหลาด ล่วมเลว ถุงหมากสักหลาดปักทองประดับกระจก ถุงหมากเลว ถุงยาสูบปักทองประดับกระจก ถุงยาสูบผ้าลายต่างกันสำหรับทิ้งทาน ซองพลูสักหลาดปักทองประดับกระจกซองพลูเลวสักหลาดเขียวแดง แล้วรับผ้าแขกจามวัดแก้วฟ้า วัดลอดช่องมาใส่ร้านขาย...ป่าหน้าพระกาลมีร้านชำขายหัวไนโครงไนปั่นฝ้าย นอกจากนี้มี ...ย่านป่าผ้าเหลือง ย่านจวนคลังทำหีบฝ้ายขาย ย่านป่าต้องขายฝ้าย"
ย่านทั้งหมดดังกล่าวเป็นแหล่งที่ขายผ้า และของที่เกี่ยวเนื่องกับผ้าจะเห็นว่ามีทั้งผ้าฝ้าย ผ้าไหมผ้าแพร ผ้าสองปักหรือสมปัก เชิงปูม ผ้าปูม และ ผ้าจวน ขายเส้นด้ายและอุปกรณ์การปั่นด้าย แสดงให้เห็นว่า มีการทอผ้ากันมาก นอกจากนี้ยังรู้จักเย็บเสื้อหลายแบบ ทั้งเสื้อจีบเอว เสื้อสวมหัวเสื้อผ่าด้านหน้าที่เรียกกันครั้งนั้นว่า เสื้อฉีกอกรู้จักเย็บกางเกงและนิยมนุ่งกางเกงด้วย ส่วนของใช้อื่น เช่น ถุงหมาก ถุงยาสูบ ซองพลู ก็ทราบว่าประดิษฐ์จากผ้าสักหลาดเป็นส่วนมาก และตกแต่งให้สวยงามด้วยการปักไหมทองหรือดิ้นทองแล้วประดับกระจก ซึ่งน่าจะคล้ายกับถุงต่างๆ ที่ส่งมาจากอินเดียในปัจจุบันใน พ.ศ. ๑๙๕๑ แผ่นดินสมเด็จพระนครินทราธิราช มีหลักฐานว่าในการทำบุญต่างๆ มักมีการบรรจุของมีค่าลงในสถูปเจดีย์ ไม่ว่าจะเป็นทองหรือสิ่งใด และจะเทียบราคาเป็นจำนวนผ้าคล้ายกับการตีราคาทาสด้วยจำนวนผ้า มีข้อความ ในจารึกแผ่นเงินหลักที่ ๔๘ ว่า "...ธ ให้ทานทองแปดตำลึง ตลับอันหนึ่ง ค่าผ้าล้านหนึ่ง..." กับปรากฏชื่อผ้าพิจิตรพัสตร์ และผ้าสนอบลาย
สถานที่ขายผ้าในกรุงศรีอยุธยา ยังมีอีกย่านหนึ่ง เรียกว่า ย่านฉะไกรใหญ่ ขายผ้าสุหรัด และผ้าขาว ที่วัดลอดช่องก็มีพวกแขกจามทอผ้าไหมกับผ้าด้ายขาย ย่านวัดขุนพรหมเขียนผ้าพิมพ์แสดงว่าผ้าพิมพ์นั้นภายในกรุงศรีอยุธยาก็มีทำที่ย่านวัดขุนพรหมด้วย นอกจากนี้ยังมีผ้าทอจากหัวเมืองมาขาย เช่น จากโคราชมีผ้าตาราง นอกจากนี้ยังมีผ้าสายบัว ผ้าขาวม้าแดง ซึ่งเมืองลพบุรีส่งเป็นส่วย (ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองจำนวนหนึ่ง ส่งเป็นภาคหลวง ตามวิธีเรียกเก็บภาษีอากรในสมัยโบราณ)
ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า กรุงศรีอยุธยาเป็นแหล่งค้าผ้าที่สำคัญของพ่อค้า นอกจากผ้าซึ่งเราทอเองแล้ว ยังมีผ้าสั่งเข้ามาจากเมืองจีน อินเดีย และประเทศทางยุโรป เช่น อังกฤษ ฮอลันดา ในเวลาต่อมาด้วย
การที่มีผ้ามากมายมาซื้อขายกันที่กรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วยนิสัยของคนไทยซึ่งพ่อค้ารู้ดีคือคนไทยชอบเปลี่ยนแบบและลายเขียนบนเสื้อผ้าอยู่เป็นนิจ สินค้าที่ขายดีในกรุงสยามได้แก่ ผ้าชนิดต่างๆ จากอินเดีย จากสุรัต และคาบลูนอกจากนี้ก็ได้แก่ ผ้าต่างๆ จากฝั่งโคโรมันเดลและการค้าขายผ้าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงขายและทรงควบคุมการส่งสินค้าผ้าออกไปยังหัวเมืองต่างๆ ที่นั่นจะมีคลังสินค้าตั้งอยู่ทำหน้าที่ขายของต่างๆ ให้กับประชาชน การใช้ผ้าในสมัยนั้น มิได้นำมานุ่งห่มแต่อย่างเดียว แต่คนไทยนิยมนำผ้ามาตกแต่งอาคารบ้านเรือน และทำเป็นเครื่องใช้อย่างอื่นอีกด้วย เช่นเดียวกับยุคก่อนๆ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความนิยมให้ลักษณะของผ้าเป็นเครื่องแสดงฐานะและตำแหน่งของผู้สวมใส่ ข้าราชการที่ทำความดีความชอบ พระเจ้าแผ่นดินก็จะทรงมีบำเหน็จรางวัลให้และของอย่างหนึ่งที่ใช้ปูนบำเหน็จรางวัลก็คือ ผ้า ขุนนางจะรับพระราชทานผ้าสมปักไว้นุ่งเข้าเฝ้า ผ้าพระราช-ทานนี้เปรียบเสมือนเงินเดือน แต่พระราชทานรายปี เรียกว่า ผ้าหวัดรายปี ผ้าสมปักมีหลายชนิดสำหรับฐานะและตำแหน่งแตกต่างกัน เช่น สมปักลายหัวหมื่นนายเวรใช้ สมปักไหมเจ้ากรมปลัดกรมใช้ ส่วนมหาดเล็กใช้ผ้าลาย บางทีการนุ่งผ้าสมปักก็ขึ้นอยู่กับโอกาสหรือพิธีบางอย่างอีกด้วย
ในการนำผ้ามาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มนั้น คนไทยมีความเชื่อในเรื่องสีด้วย ซึ่งมาจากการเชื่อถือเรื่อง เทวดาสัปตเคราะห์ หรือ แม่ซื้อ ๗ องค์ แต่ละองค์มีสีกายแตกต่างกันไป ซึ่งก็คือสีประจำวันทั้งเจ็ดนั่นเอง นั่นคือ วันอาทิตย์สวมเสื้อผ้าสีแดง วันจันทร์สวมสีขาวนวล วันอังคารสวมสีชมพู วันพุธสวมสีเขียว วันพฤหัสบดีสวมสีเหลืองอ่อน วันศุกร์สวมสีฟ้าอ่อน และวันเสาร์สวมสีดำ คนโบราณกำหนดวันนุ่งผ้าใหม่เป็นแบบข้างขึ้นข้างแรม เช่น ขึ้น ๔, ๖, ๙ ค่ำ ตัดผ้า เย็บผ้า นุ่งผ้าใหม่ดี จะได้ลาภ แรม ๔, ๑๑ ค่ำ ตัดผ้า เย็บผ้านุ่งผ้าใหม่ดี มีลาภ เป็นต้น
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๔๕๓)
การใช้ผ้าเป็นเครื่องแต่งกายนั้น เดิมครั้งกรุงศรีอยุธยา คงมีอยู่ระยะหนึ่งที่มีระเบียบเคร่งครัดว่าคนชั้นไหนใช้ผ้าชนิดใดได้บ้าง หรือชนิดไหนใช้ไม่ได้ ต่อมาระเบียบนี้ละเว้นไปไม่เคร่งครัดจึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ โปรดให้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการแต่งกายการใช้ผ้าบังคับและห้ามไว้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ดังความปรากฏว่า "...ธรรมเนียม แต่ก่อนสืบมา จะนุ่งผ้าสมปักท้องนาก และใส่เสื้อครุยกรองคอ กรองต้นแขน กรองปลายแขน จะคาดรัดประคดหนามขนุนได้แต่มหาดไทย กลาโหม จตุสดมภ์ และแต่งบุตรแลหลานขุนนาง ผู้ใหญ่ผู้น้อยได้แต่เสมา แลจี้ภควจั่นจำหลักประดับพลอย แต่เพียงนี้ และทุกวันนี้ข้าราชการผู้น้อยนุ่งห่มมิได้ทำตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน ผู้น้อยก็นุ่งสม ปักปูมท้องนาก ใส่เสื้อครุยกรองคอ กรองสังเวียน กรองสมรด คาดรัดประคดหนามขนุน กั้นร่มผ้าสีผึ้งกลตาไปจนตำรวจเลว แลลูกค้าวณิชกั้นร่มสีผึ้ง แล้วแต่งบุตรหลานเล่า ผูกลูกประหล่ำ จำหลักประดับพลอยแลจี้กุดั่นประดับพลอย เพชรถมยา ราชาวดี ใส่เกี้ยวมีกระจังประจำยามสี่ทิศ ผูกภควจั่นถมยาประดับเพชรประดับพลอย สายเข็มขัดมีดอกประจำยาม เข้าอย่างต้องห้าม เกินบรรดาศักดิ์ผิดอยู่ แต่นี้สืบไปเมื่อหน้าให้ข้าราชการแลราษฎรทำตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน"
"ครั้งนี้โปรดเกล้าฯ ให้แต่ขุนนางผู้ใหญ่กั้นร่มผ้าสีผึ้ง คาดรัดประคดหนามขนุน ห้ามอย่าให้ข้าราชการผู้น้อยใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองสังเวียน กรองสมรด คาดรัดประคดหนามขนุนนุ่งสมปักท้องนาก สายเข็ดขัดอย่าให้มีดอกประจำยาม กั้นร่มผ้าสีผึ้ง ใส่เสื้อครุย ได้แก่กรองปลายมือจะแต่งบุตรแลหลาน ก็ให้ใส่แต่จี้เสมาภควจั่นจำหลักประดับพลอยแดงเขียวแต่เท่านี้ อย่าได้ประดับเพชรถมยาราชาวดี ลูกประหล่ำเล่าก็ให้ใส่แต่ลายแทงแลเกลี้ยง เกี้ยวอย่าให้มีกระจังประจำยามสี่ทิศ และอย่าให้ใส่กระจับปิ้งพริกเทศทองคำกำไลทองคำใส่เท้า อย่าให้ข้าราชการผู้น้อย และราษฎรกั้นร่มผ้าสีผึ้ง และกระทำให้ผิดด้วยอย่างธรรมเนียมเกินบรรดาศักดิ์เป็นอันขาดทีเดียว และห้ามอย่าให้ช่างทองทั้งปวงรับจ้างทำจี้เสมาภควจั่นประดับเพชร ถมยาราชวดีประดับพลอย ห้ามมิให้ซื้อขายเป็นขาดทีเดียว..."
ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่า การใช้ผ้าก็ดี เครื่องประดับก็ดี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นการใช้ตามฐานะรวมถึงบรรดาศักดิ์ ตามตำแหน่งหน้าที่การงานและตามสกุล ผ้าในสมัยนี้คงใช้สืบต่อแบบเดียวกับที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงจะเพิ่มขึ้นใหม่อีกด้วย สมัยรัตนโกสินทร์มีผ้าต่างๆ เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ ส่วนหนึ่งเป็นผ้าทอในประเทศ อีกส่วนหนึ่งเป็นผ้าสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ ผ้าไทย ได้แก่ ผ้ายก ผ้าไหมผ้าสมปัก ผ้ายกทองระกำไหม สมัยรัชกาลที่ ๒มีผ้าลายซึ่งเจ้านายและคนสามัญนิยมใช้ จะต่างกันตรงที่ลวดลายว่าเป็นลายอย่างหรือผ้าลายนอกอย่าง (ผ้าซึ่งคนไทยเขียนลวดลายเป็นแบบอย่าง ส่งไปพิมพ์ในต่างประเทศ โดยเฉพาะอินเดีย) ถ้าเป็นของเจ้านายชั้นสูง ผ้าลายมักจะเขียนลายด้วยสีทองเรียกว่า ผ้าลายเขียนทอง ซึ่งใช้ได้เฉพาะระดับพระเจ้าแผ่นดินถึงพระองค์เจ้าเท่านั้น ผ้าชนิดนี้นิยมใช้เช่นเดียวกับผ้ายก
ผ้าที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของพวกเจ้านายคือผ้าใยบัว ผ้ากรองทอง และผ้าโขมพัสตร์ พวกชาวบ้านทั่วไป มักจะใช้ผ้าตาบัวปอก ผ้าดอกส้มดอกเทียน ผ้าเล็ดงา ผ้าตามะกล่ำ ผ้าตาสมุกผ้าไหมมีหลาชนิด เช่น ผ้าไหมตาตาราง ผ้าไหม ตะเภา การเพิ่มความงามให้แก่เสื้อผ้าที่ใช้ นอกจากปักไหมเป็นลวดลายต่างๆ แล้ว ก็มีการปักด้วยทองเทศ ปักด้วยปีกแมลงทับซึ่งใช้ปักทั้งบนผ้าทรงสะพัก ผ้าสมรดหรือผ้าคาดเอวและเชิงสนับเพลาของเจ้านายผู้ชาย
ในรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ นักเลงห่มแพรเพลาะดำย้อมมะเกลือ คนมีเงินก็ใช้แพรจีนสีต่างๆ สองชั้น สีนวลอยู่ข้างใน ริมขลิบลูกไม้มุมติดพู่ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ยังนิยมทรงผ้าลายอย่างผ้าตาด พวกข้าราชการนุ่งปูมอย่างเขมร ถือว่าเป็นดีที่สุด นุ่งสมปักตามยศ ถ้าในพระราชพิธีถือน้ำ เจ้านายทรงผ้าลายพื้นขาวเขียนทองบ้าง ลายเปล่าบ้าง ยกทองขาวเชิงชายบ้าง ฉลองพระองค์กระบอกผ้าขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นผ้าปักทองแล่ง
นอกจากนี้มีผ้าหิ่งห้อย ผ้าอุทุมพร ผ้าสังเวียน ซึ่งยังไม่อาจทราบได้ว่ามีลักษณะอย่างไร ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประกาศการแต่งตัวในสมัยของพระองค์ ทำให้ทราบว่า "..ธรรมเนียมข้าราชการ นุ่งสมปักปูม ปักเชิง ปักล่องจวน ปักริ้ว เข้าเฝ้านั้น ก็เป็นธรรมเนียนมาแต่โบราณ แต่ข้าราชการปลงใจเสียว่าเป็นผ้าหลวง ได้มาอย่างไรก็ใช้ไปอย่างนั้น หาใคร่เอาใจใส่บำรุงให้สะอาดไม่ เหม็นสาบสางเปื้อนเปรอะขะมุกขะมอม และฉีกขาดก็ใช้นุ่งมาเฝ้าไม่เป็นที่เจริญพระเกียรติ..."ผ้าสมปักปูมเขมร สร้างมาแต่เมืองเขมร ส่วนมากเรียกว่า ปูมเขมร ที่เมืองเขมร ใช้นุ่งห่มทั้งไพร่ผู้ดี ทั่วไปเป็นพื้น ไทยมาใช้เป็นผ้าบอกเครื่องยศดูเหมือนเอาอย่างเขมรมาใช้ ไม่งดงาม ไม่เป็นอย่างไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้งดเลิกสมปักยศตามธรรมเนียมทุกอย่างนั้นเสีย โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมราชวงศ์ และขุนนางทั้งปวงนุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงินแก่แทนสมปักและสวมเสื้อต่างๆ ตามเวลา
ผ้าม่วงสีน้ำเงินแก่ ไม่ได้ทำในไทย แต่ให้ตัวอย่างสั่งทำมาแต่เมืองจีน ใช้ในไทยเท่านั้นจีนไม่ใช้นุ่งเลย ใช้เป็นผ้าสำหรับเจ้านาย และข้าราชการนุ่งห่มเป็นยศแทนสมปักอย่างเดิม เวลาเข้าเฝ้า ณ พระที่นั่ง เวลาออกแขกเมืองใหญ่หรือมีการใหญ่ พระราชทานพระกฐิน เวลาแต่งเต็มยศอย่างใหญ่ก็ให้พระบรมราชวงศานุวงศ์แต่ง
ผ้าม่วงที่สั่งจากประเทศจีนเข้ามาใช้นั้น เป็นชื่อเมืองที่ผลิต มิได้หมายถึงสีของผ้าแต่อย่างใดเพราะนอกจากสีน้ำเงินแล้วยังมีสีเหลือง สีแดงอีกด้วย แต่อย่างไรก็ดี ผ้าสมปักก็มิได้เลิกไปเสียทีเดียว ยังมีใช้อยู่ต่อมาบ้าง ส่วนผ้ายก ผ้าเยียรบับและผ้าเข้มขาบ คงใช้ตัดเสื้ออยู่ต่อมา แต่แบบของเสื้อก็โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงไปตามแบบยุโรปยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีผ้าต่างประเทศที่ใช้ในครั้งนั้นอยู่อีกบ้าง เช่น ผ้ามัสหรู่ ผ้าปัศตู ผ้ากุหร่าซึ่งมักจะนำไปใช้ตัดเป็นเสื้อและกางเกงให้ทหารกองต่างๆ อย่างไรก็ดี การใช้ผ้านี้ในบางโอกาสก็มีกฎเกณฑ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งบางอย่างเป็นประเพณีมาแต่เดิม และบางอย่างก็เป็นความเชื่อถือว่าดีเป็นมงคล เป็นต้นว่า เวลาไปฟังเทศน์ พระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายมักทรงชุดขาวเวลาออกศึกจะฉลองพระองค์ตามสีวันอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยาแต่สำหรับผู้หญิงที่มิได้ไปศึกสงคราม ก็มีการนุ่งห่มใช้สีสันไปอีกแบบหนึ่งโดยเฉพาะ อย่างหญิงสาวชาววังนั้นนิยมนุ่งห่มด้วยสีตัดกัน ไม่นิยมใช้สีเดียวกันทั้งผ้านุ่งและสไบ ดังนี้
วันจันทร์ นุ่งเหลืองอ่อน ห่มน้ำเงินอ่อน หรือห่มสีบานเย็น นุ่งสีน้ำเงินนกพิราบ ห่มจำปาแดง (สีดอกจำปาแก่ๆ)
วันอังคาร นุ่งสีปูนหรือม่วงเม็ดมะปราง ห่มสีโศก (สีเขียวอ่อนอย่างสีใบโศกอ่อน) นุ่งสีโศกหรือเขียวอ่อน ห่มม่วงอ่อน
วันพุธ นุ่งสีตะกั่วหรือสีเหล็ก ห่มสีจำปา
วันพฤหัสบดี นุ่งเขียวใบไม้ ห่มแดงเลือดนก นุ่งแสด ห่มเขียวอ่อน
วันศุกร์ นุ่งน้ำเงินแก่ ห่มเหลือง
วันเสาร์ นุ่งม่วงเม็ดมะปราง ห่มสีโศก นุ่งผ้าลายพื้นม่วง ห่มสีโศก
วันอาทิตย์ จะแต่งเหมือนวันพฤหัสบดีก็ได้คือ นุ่งเขียวห่มแดง หรือนุ่งผ้าลายพื้นสีลิ้นจี่ หรือสีเลือดหมู ห่มสีโศก
เวลาไว้ทุกข์ นุ่งผ้าลายพื้นม่วง ห่มสีนวล
ผู้หญิงชาววังคงนิยมนุ่งดังนี้เรื่อยมา คนไทยมิได้ใช้สีดำเป็นสีไว้ทุกข์แต่อย่างใด คนไทยมานิยมตามแบบยุโรป คือใช้สีดำล้วนเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ พวกที่มิได้อยู่ภายในวังก็มิได้ปฏิบัติตามความนิยมที่ใช้สีนุ่งห่มประจำวัน คือ อยากจะนุ่งห่มสีอะไรก็ได้ หรือใช้สีเดียวกันทั้งชุดก็ได้ไม่มีกฎเกณฑ์แต่อย่างใด
ผ้าที่นิยมใช้กันตลอดมา ได้แก่ ผ้าไหม รัชกาลที่ ๕ ทรงพยายามสนับสนุนการทอผ้าไหมขึ้นอีกใน พ.ศ. ๒๔๕๒ ทรงสถาปนากรมช่างไหมขึ้นมีกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พระองค์เจ้าเพ็ญ พัฒนพงศ์) เป็นอธิบดีกรมช่างไหม และโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนช่างไหมขึ้น ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเกษตร ที่วังใหม่สระปทุม กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมทรงสนพระทัย ได้ขยายโรงเรียนช่างไหมออกไปที่จังหวัดนครราชสีมาและ บุรีรัมย์ โปรดเกล้าฯ ให้จ้างชาวญี่ปุ่นมาเป็นครูช่างไหมด้วยเพราะราษฎรญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไหมเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนของชาวนา พันธุ์หม่อนและพันธุ์ไหมของญี่ปุ่น มีคุณภาพต่างกับของไทยคือ พันธุ์ไหมไทยเส้นไหมสีเหลืองที่เรียกชื่อทางวิชาการว่า ทุสซาห์ ซิลก์ (Tussah silk) และสั้นกว่าไหมญี่ปุ่นที่ชื่อ บอนบิกซ์ โมริ (Bonbyx Mori) ซึ่งมีเส้นไหมสีขาวเกือบครึ่ง พันธุ์หม่อนของญี่ปุ่นมีใบใหญ่และดกกว่าหม่อนไทย ทั้งมีหลายชนิด เลือกปลูกให้เหมาะแก่ท้องถิ่นได้ดี พระองค์โปรดให้จัดสร้าง เครื่องสาวไหมแบบญี่ปุ่น ซึ่งสาวไหมได้รวดเร็วและได้เส้นไหมที่สม่ำเสมอดีกว่าเครื่องสาวไหมไทย ใน ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) โปรดเกล้าฯ ให้แจกจ่ายเครื่องสาวเส้นไหม ๔๐๘ เครื่อง ดังนั้นการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหมแบบพื้นเมืองได้ดัดแปลงตามแบบญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมสิ้นพระชนม์แล้วก็ไม่มีผู้ใดส่งเสริม โรงเรียนช่างไหมก็ล้มเลิกไป
ในรัชกาลที่ ๖ ประเพณีการใช้ผ้าเป็นเครื่องแต่งกายทั้งของบรรดาเจ้านายและประชาชนทั่วไปก็ยังคงใช้สืบต่อมา เจ้านายทรงผ้ายกหรือผ้าลายเขียนทอง แม้ว่าคนส่วนมากยังแต่งตัวแบบเก่าๆแต่ก็มีพวกเจ้านายและประชาชนที่เป็นพวกสมัยใหม่บางกลุ่มเริ่มแต่งตัวอย่างตะวันตกกันบ้างแล้ว ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบนหรือผ้าจีบหน้านาง หันมานุ่งถุงสำเร็จ ส่วนสไบนั้นก็มิได้เลิกเสียทีเดียวแต่สวมเสื้อผ้าดอกลูกไม้แขนยาวทรงกระบอกหรือทรงขาหมูแฮม และใช้สไบพาดทับเสื้ออีกทีหนึ่ง ผู้ชายก็นิยมนุ่งกางเกงและสวมเสื้ออย่างชาวตะวันตกความนิยมนี้มีมากขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และในกาลต่อมาก็นิยมแต่งแบบตะวันตกกันทั่วไปทั้งผู้ชายและผู้หญิงดังเช่นปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมใช้ผ้าที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศมากกว่าผ้าทอในเมืองไทย
ผ้าไทยแม้จะตกต่ำไปบ้างในบางเวลาก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันกล่าวได้ว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงสนพระราชหฤทัยสนับสนุนการทอผ้าพื้นเมือง โดยเฉพาะ การทอผ้ามัดหมี่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้แพร่หลายเป็นที่รู้จักอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะอนุรักษ์และพัฒนาการทอผ้าพื้นเมืองในภูมิภาคอื่นๆ ของไทยเราให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เป็นที่นิยมของคนไทย ซื้อหานำมาใช้โดยทั่วไปอีกโสดหนึ่งด้วย
ข้อความแต่โบราณที่ว่า "ผู้หญิงทอผ้า" นั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนไทย เพราะแสดงถึงวัฒนธรรมอันสูงส่งที่ไทยเรามีบรรพบุรุษซึ่งปราดเปรื่อง คิดประดิษฐ์กรรมวิธีการทอผ้า ทั้งผ้าฝ้าย และผ้าไหมได้อย่างดีเลิศ และคิดวิธีได้หลากหลายไม่ว่าจะทอผ้าพื้น หรือทอให้เกิดลวดลายต่างๆ ด้วยวิธีที่เรียกว่า ยก จก ขิด มัดหมี่ และล้วง เป็นต้น และวัฒนธรรมนี้ได้รับการสืบทอดต่อมานานนับร้อยพันปี จนเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น
การใช้ผ้าเป็นเครื่องแต่งกายนั้น เดิมครั้งกรุงศรีอยุธยา คงมีอยู่ระยะหนึ่งที่มีระเบียบเคร่งครัดว่าคนชั้นไหนใช้ผ้าชนิดใดได้บ้าง หรือชนิดไหนใช้ไม่ได้ ต่อมาระเบียบนี้ละเว้นไปไม่เคร่งครัดจึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ โปรดให้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการแต่งกายการใช้ผ้าบังคับและห้ามไว้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ดังความปรากฏว่า "...ธรรมเนียม แต่ก่อนสืบมา จะนุ่งผ้าสมปักท้องนาก และใส่เสื้อครุยกรองคอ กรองต้นแขน กรองปลายแขน จะคาดรัดประคดหนามขนุนได้แต่มหาดไทย กลาโหม จตุสดมภ์ และแต่งบุตรแลหลานขุนนาง ผู้ใหญ่ผู้น้อยได้แต่เสมา แลจี้ภควจั่นจำหลักประดับพลอย แต่เพียงนี้ และทุกวันนี้ข้าราชการผู้น้อยนุ่งห่มมิได้ทำตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน ผู้น้อยก็นุ่งสม ปักปูมท้องนาก ใส่เสื้อครุยกรองคอ กรองสังเวียน กรองสมรด คาดรัดประคดหนามขนุน กั้นร่มผ้าสีผึ้งกลตาไปจนตำรวจเลว แลลูกค้าวณิชกั้นร่มสีผึ้ง แล้วแต่งบุตรหลานเล่า ผูกลูกประหล่ำ จำหลักประดับพลอยแลจี้กุดั่นประดับพลอย เพชรถมยา ราชาวดี ใส่เกี้ยวมีกระจังประจำยามสี่ทิศ ผูกภควจั่นถมยาประดับเพชรประดับพลอย สายเข็มขัดมีดอกประจำยาม เข้าอย่างต้องห้าม เกินบรรดาศักดิ์ผิดอยู่ แต่นี้สืบไปเมื่อหน้าให้ข้าราชการแลราษฎรทำตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน"
"ครั้งนี้โปรดเกล้าฯ ให้แต่ขุนนางผู้ใหญ่กั้นร่มผ้าสีผึ้ง คาดรัดประคดหนามขนุน ห้ามอย่าให้ข้าราชการผู้น้อยใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองสังเวียน กรองสมรด คาดรัดประคดหนามขนุนนุ่งสมปักท้องนาก สายเข็ดขัดอย่าให้มีดอกประจำยาม กั้นร่มผ้าสีผึ้ง ใส่เสื้อครุย ได้แก่กรองปลายมือจะแต่งบุตรแลหลาน ก็ให้ใส่แต่จี้เสมาภควจั่นจำหลักประดับพลอยแดงเขียวแต่เท่านี้ อย่าได้ประดับเพชรถมยาราชาวดี ลูกประหล่ำเล่าก็ให้ใส่แต่ลายแทงแลเกลี้ยง เกี้ยวอย่าให้มีกระจังประจำยามสี่ทิศ และอย่าให้ใส่กระจับปิ้งพริกเทศทองคำกำไลทองคำใส่เท้า อย่าให้ข้าราชการผู้น้อย และราษฎรกั้นร่มผ้าสีผึ้ง และกระทำให้ผิดด้วยอย่างธรรมเนียมเกินบรรดาศักดิ์เป็นอันขาดทีเดียว และห้ามอย่าให้ช่างทองทั้งปวงรับจ้างทำจี้เสมาภควจั่นประดับเพชร ถมยาราชวดีประดับพลอย ห้ามมิให้ซื้อขายเป็นขาดทีเดียว..."
ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่า การใช้ผ้าก็ดี เครื่องประดับก็ดี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นการใช้ตามฐานะรวมถึงบรรดาศักดิ์ ตามตำแหน่งหน้าที่การงานและตามสกุล ผ้าในสมัยนี้คงใช้สืบต่อแบบเดียวกับที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงจะเพิ่มขึ้นใหม่อีกด้วย สมัยรัตนโกสินทร์มีผ้าต่างๆ เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ ส่วนหนึ่งเป็นผ้าทอในประเทศ อีกส่วนหนึ่งเป็นผ้าสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ ผ้าไทย ได้แก่ ผ้ายก ผ้าไหมผ้าสมปัก ผ้ายกทองระกำไหม สมัยรัชกาลที่ ๒มีผ้าลายซึ่งเจ้านายและคนสามัญนิยมใช้ จะต่างกันตรงที่ลวดลายว่าเป็นลายอย่างหรือผ้าลายนอกอย่าง (ผ้าซึ่งคนไทยเขียนลวดลายเป็นแบบอย่าง ส่งไปพิมพ์ในต่างประเทศ โดยเฉพาะอินเดีย) ถ้าเป็นของเจ้านายชั้นสูง ผ้าลายมักจะเขียนลายด้วยสีทองเรียกว่า ผ้าลายเขียนทอง ซึ่งใช้ได้เฉพาะระดับพระเจ้าแผ่นดินถึงพระองค์เจ้าเท่านั้น ผ้าชนิดนี้นิยมใช้เช่นเดียวกับผ้ายก
ผ้าที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของพวกเจ้านายคือผ้าใยบัว ผ้ากรองทอง และผ้าโขมพัสตร์ พวกชาวบ้านทั่วไป มักจะใช้ผ้าตาบัวปอก ผ้าดอกส้มดอกเทียน ผ้าเล็ดงา ผ้าตามะกล่ำ ผ้าตาสมุกผ้าไหมมีหลาชนิด เช่น ผ้าไหมตาตาราง ผ้าไหม ตะเภา การเพิ่มความงามให้แก่เสื้อผ้าที่ใช้ นอกจากปักไหมเป็นลวดลายต่างๆ แล้ว ก็มีการปักด้วยทองเทศ ปักด้วยปีกแมลงทับซึ่งใช้ปักทั้งบนผ้าทรงสะพัก ผ้าสมรดหรือผ้าคาดเอวและเชิงสนับเพลาของเจ้านายผู้ชาย
ในรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ นักเลงห่มแพรเพลาะดำย้อมมะเกลือ คนมีเงินก็ใช้แพรจีนสีต่างๆ สองชั้น สีนวลอยู่ข้างใน ริมขลิบลูกไม้มุมติดพู่ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ยังนิยมทรงผ้าลายอย่างผ้าตาด พวกข้าราชการนุ่งปูมอย่างเขมร ถือว่าเป็นดีที่สุด นุ่งสมปักตามยศ ถ้าในพระราชพิธีถือน้ำ เจ้านายทรงผ้าลายพื้นขาวเขียนทองบ้าง ลายเปล่าบ้าง ยกทองขาวเชิงชายบ้าง ฉลองพระองค์กระบอกผ้าขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นผ้าปักทองแล่ง
นอกจากนี้มีผ้าหิ่งห้อย ผ้าอุทุมพร ผ้าสังเวียน ซึ่งยังไม่อาจทราบได้ว่ามีลักษณะอย่างไร ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประกาศการแต่งตัวในสมัยของพระองค์ ทำให้ทราบว่า "..ธรรมเนียมข้าราชการ นุ่งสมปักปูม ปักเชิง ปักล่องจวน ปักริ้ว เข้าเฝ้านั้น ก็เป็นธรรมเนียนมาแต่โบราณ แต่ข้าราชการปลงใจเสียว่าเป็นผ้าหลวง ได้มาอย่างไรก็ใช้ไปอย่างนั้น หาใคร่เอาใจใส่บำรุงให้สะอาดไม่ เหม็นสาบสางเปื้อนเปรอะขะมุกขะมอม และฉีกขาดก็ใช้นุ่งมาเฝ้าไม่เป็นที่เจริญพระเกียรติ..."ผ้าสมปักปูมเขมร สร้างมาแต่เมืองเขมร ส่วนมากเรียกว่า ปูมเขมร ที่เมืองเขมร ใช้นุ่งห่มทั้งไพร่ผู้ดี ทั่วไปเป็นพื้น ไทยมาใช้เป็นผ้าบอกเครื่องยศดูเหมือนเอาอย่างเขมรมาใช้ ไม่งดงาม ไม่เป็นอย่างไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้งดเลิกสมปักยศตามธรรมเนียมทุกอย่างนั้นเสีย โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมราชวงศ์ และขุนนางทั้งปวงนุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงินแก่แทนสมปักและสวมเสื้อต่างๆ ตามเวลา
ผ้าม่วงสีน้ำเงินแก่ ไม่ได้ทำในไทย แต่ให้ตัวอย่างสั่งทำมาแต่เมืองจีน ใช้ในไทยเท่านั้นจีนไม่ใช้นุ่งเลย ใช้เป็นผ้าสำหรับเจ้านาย และข้าราชการนุ่งห่มเป็นยศแทนสมปักอย่างเดิม เวลาเข้าเฝ้า ณ พระที่นั่ง เวลาออกแขกเมืองใหญ่หรือมีการใหญ่ พระราชทานพระกฐิน เวลาแต่งเต็มยศอย่างใหญ่ก็ให้พระบรมราชวงศานุวงศ์แต่ง
ผ้าม่วงที่สั่งจากประเทศจีนเข้ามาใช้นั้น เป็นชื่อเมืองที่ผลิต มิได้หมายถึงสีของผ้าแต่อย่างใดเพราะนอกจากสีน้ำเงินแล้วยังมีสีเหลือง สีแดงอีกด้วย แต่อย่างไรก็ดี ผ้าสมปักก็มิได้เลิกไปเสียทีเดียว ยังมีใช้อยู่ต่อมาบ้าง ส่วนผ้ายก ผ้าเยียรบับและผ้าเข้มขาบ คงใช้ตัดเสื้ออยู่ต่อมา แต่แบบของเสื้อก็โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงไปตามแบบยุโรปยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีผ้าต่างประเทศที่ใช้ในครั้งนั้นอยู่อีกบ้าง เช่น ผ้ามัสหรู่ ผ้าปัศตู ผ้ากุหร่าซึ่งมักจะนำไปใช้ตัดเป็นเสื้อและกางเกงให้ทหารกองต่างๆ อย่างไรก็ดี การใช้ผ้านี้ในบางโอกาสก็มีกฎเกณฑ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งบางอย่างเป็นประเพณีมาแต่เดิม และบางอย่างก็เป็นความเชื่อถือว่าดีเป็นมงคล เป็นต้นว่า เวลาไปฟังเทศน์ พระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายมักทรงชุดขาวเวลาออกศึกจะฉลองพระองค์ตามสีวันอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยาแต่สำหรับผู้หญิงที่มิได้ไปศึกสงคราม ก็มีการนุ่งห่มใช้สีสันไปอีกแบบหนึ่งโดยเฉพาะ อย่างหญิงสาวชาววังนั้นนิยมนุ่งห่มด้วยสีตัดกัน ไม่นิยมใช้สีเดียวกันทั้งผ้านุ่งและสไบ ดังนี้
วันจันทร์ นุ่งเหลืองอ่อน ห่มน้ำเงินอ่อน หรือห่มสีบานเย็น นุ่งสีน้ำเงินนกพิราบ ห่มจำปาแดง (สีดอกจำปาแก่ๆ)
วันอังคาร นุ่งสีปูนหรือม่วงเม็ดมะปราง ห่มสีโศก (สีเขียวอ่อนอย่างสีใบโศกอ่อน) นุ่งสีโศกหรือเขียวอ่อน ห่มม่วงอ่อน
วันพุธ นุ่งสีตะกั่วหรือสีเหล็ก ห่มสีจำปา
วันพฤหัสบดี นุ่งเขียวใบไม้ ห่มแดงเลือดนก นุ่งแสด ห่มเขียวอ่อน
วันศุกร์ นุ่งน้ำเงินแก่ ห่มเหลือง
วันเสาร์ นุ่งม่วงเม็ดมะปราง ห่มสีโศก นุ่งผ้าลายพื้นม่วง ห่มสีโศก
วันอาทิตย์ จะแต่งเหมือนวันพฤหัสบดีก็ได้คือ นุ่งเขียวห่มแดง หรือนุ่งผ้าลายพื้นสีลิ้นจี่ หรือสีเลือดหมู ห่มสีโศก
เวลาไว้ทุกข์ นุ่งผ้าลายพื้นม่วง ห่มสีนวล
ผู้หญิงชาววังคงนิยมนุ่งดังนี้เรื่อยมา คนไทยมิได้ใช้สีดำเป็นสีไว้ทุกข์แต่อย่างใด คนไทยมานิยมตามแบบยุโรป คือใช้สีดำล้วนเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ พวกที่มิได้อยู่ภายในวังก็มิได้ปฏิบัติตามความนิยมที่ใช้สีนุ่งห่มประจำวัน คือ อยากจะนุ่งห่มสีอะไรก็ได้ หรือใช้สีเดียวกันทั้งชุดก็ได้ไม่มีกฎเกณฑ์แต่อย่างใด
ผ้าที่นิยมใช้กันตลอดมา ได้แก่ ผ้าไหม รัชกาลที่ ๕ ทรงพยายามสนับสนุนการทอผ้าไหมขึ้นอีกใน พ.ศ. ๒๔๕๒ ทรงสถาปนากรมช่างไหมขึ้นมีกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พระองค์เจ้าเพ็ญ พัฒนพงศ์) เป็นอธิบดีกรมช่างไหม และโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนช่างไหมขึ้น ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเกษตร ที่วังใหม่สระปทุม กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมทรงสนพระทัย ได้ขยายโรงเรียนช่างไหมออกไปที่จังหวัดนครราชสีมาและ บุรีรัมย์ โปรดเกล้าฯ ให้จ้างชาวญี่ปุ่นมาเป็นครูช่างไหมด้วยเพราะราษฎรญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไหมเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนของชาวนา พันธุ์หม่อนและพันธุ์ไหมของญี่ปุ่น มีคุณภาพต่างกับของไทยคือ พันธุ์ไหมไทยเส้นไหมสีเหลืองที่เรียกชื่อทางวิชาการว่า ทุสซาห์ ซิลก์ (Tussah silk) และสั้นกว่าไหมญี่ปุ่นที่ชื่อ บอนบิกซ์ โมริ (Bonbyx Mori) ซึ่งมีเส้นไหมสีขาวเกือบครึ่ง พันธุ์หม่อนของญี่ปุ่นมีใบใหญ่และดกกว่าหม่อนไทย ทั้งมีหลายชนิด เลือกปลูกให้เหมาะแก่ท้องถิ่นได้ดี พระองค์โปรดให้จัดสร้าง เครื่องสาวไหมแบบญี่ปุ่น ซึ่งสาวไหมได้รวดเร็วและได้เส้นไหมที่สม่ำเสมอดีกว่าเครื่องสาวไหมไทย ใน ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) โปรดเกล้าฯ ให้แจกจ่ายเครื่องสาวเส้นไหม ๔๐๘ เครื่อง ดังนั้นการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหมแบบพื้นเมืองได้ดัดแปลงตามแบบญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมสิ้นพระชนม์แล้วก็ไม่มีผู้ใดส่งเสริม โรงเรียนช่างไหมก็ล้มเลิกไป
ในรัชกาลที่ ๖ ประเพณีการใช้ผ้าเป็นเครื่องแต่งกายทั้งของบรรดาเจ้านายและประชาชนทั่วไปก็ยังคงใช้สืบต่อมา เจ้านายทรงผ้ายกหรือผ้าลายเขียนทอง แม้ว่าคนส่วนมากยังแต่งตัวแบบเก่าๆแต่ก็มีพวกเจ้านายและประชาชนที่เป็นพวกสมัยใหม่บางกลุ่มเริ่มแต่งตัวอย่างตะวันตกกันบ้างแล้ว ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบนหรือผ้าจีบหน้านาง หันมานุ่งถุงสำเร็จ ส่วนสไบนั้นก็มิได้เลิกเสียทีเดียวแต่สวมเสื้อผ้าดอกลูกไม้แขนยาวทรงกระบอกหรือทรงขาหมูแฮม และใช้สไบพาดทับเสื้ออีกทีหนึ่ง ผู้ชายก็นิยมนุ่งกางเกงและสวมเสื้ออย่างชาวตะวันตกความนิยมนี้มีมากขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และในกาลต่อมาก็นิยมแต่งแบบตะวันตกกันทั่วไปทั้งผู้ชายและผู้หญิงดังเช่นปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมใช้ผ้าที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศมากกว่าผ้าทอในเมืองไทย
ผ้าไทยแม้จะตกต่ำไปบ้างในบางเวลาก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันกล่าวได้ว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงสนพระราชหฤทัยสนับสนุนการทอผ้าพื้นเมือง โดยเฉพาะ การทอผ้ามัดหมี่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้แพร่หลายเป็นที่รู้จักอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะอนุรักษ์และพัฒนาการทอผ้าพื้นเมืองในภูมิภาคอื่นๆ ของไทยเราให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เป็นที่นิยมของคนไทย ซื้อหานำมาใช้โดยทั่วไปอีกโสดหนึ่งด้วย
ข้อความแต่โบราณที่ว่า "ผู้หญิงทอผ้า" นั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนไทย เพราะแสดงถึงวัฒนธรรมอันสูงส่งที่ไทยเรามีบรรพบุรุษซึ่งปราดเปรื่อง คิดประดิษฐ์กรรมวิธีการทอผ้า ทั้งผ้าฝ้าย และผ้าไหมได้อย่างดีเลิศ และคิดวิธีได้หลากหลายไม่ว่าจะทอผ้าพื้น หรือทอให้เกิดลวดลายต่างๆ ด้วยวิธีที่เรียกว่า ยก จก ขิด มัดหมี่ และล้วง เป็นต้น และวัฒนธรรมนี้ได้รับการสืบทอดต่อมานานนับร้อยพันปี จนเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น
ผ้าไหม
การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
ประวัติการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
มนุษย์รู้จักการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาไม่ต่ำกว่า ๔,๐๐๐ ปีแล้ว จีนเป็นชาติแรกที่นำเส้นใยไหมมาทอเป็นอาภรณ์เครื่องนุ่งห่ม และเป็นผู้ผูกขาดทำสินค้าผ้าไหมส่งไปขายต่างประเทศเป็นเวลานานกว่า ๑,๐๐๐ ปี ความลับเรื่องไหมจึงได้แพร่ไปถึงประเทศญี่ปุ่น ประมาณ พ.ศ. ๗๓๘ และที่ยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อิตาลีประมาณ พ.ศ. ๑๘๑๘ ในอินเดียไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า ได้รับความรู้นี้ไปจากจีน หรือคิดค้นขึ้นเอง แต่เชื่อว่า อินเดียมีการเลี้ยงไหมมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล คือ ไม่ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ ปี เพราะมีบันทึกในพุทธบัญญัติไว้ว่า ห้ามสาวกของพระพุทธเจ้าบิณฑบาตผ้าที่ใช้ทำที่รองนั่ง (สันถัต) ที่ทำจากไหม
สำหรับวิชาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในเมืองไทยสันนิษฐานว่าได้รับมาจากจีน ในสมัยโบราณที่ไทยเสียดินแดนให้แก่จีนก็อพยพถอยร่นลงมายังตอนใต้ของแหลมอินโดจีน ซึ่งคนไทยที่อพยพสมัยนั้น คงจะนำความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไหมติดตัวมาด้วย และได้เลี้ยงไหมสืบต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า-อยู่หัวทรงสนพระทัยในเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงเกษตราธิการดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงไหม โดยว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ซึ่งมี ดร. โทยามา เป็นหัวหน้าคณะให้มาสร้างสถานีเลี้ยงไหมปลูกหม่อน ณ ตำบลทุ่งศาลาแดง กรุงเทพฯ และได้ยกแผนกไหมขึ้นเป็น "กรมช่างไหม" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ แล้วขยายงานจัดตั้งสาขาขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ - ๒๔๔๘ ได้ตั้งสาขาขึ้นอีกที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด กิจการก้าวหน้าเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๕๖ การส่งเสริมการเลี้ยงไหมจึงชะงักและล้มเลิกไป เพราะมีอุปสรรคนานาประการ เช่น ไหมเป็นโรคตายเป็นจำนวนมาก จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๘ ทางราชการได้กลับมาสนใจการเลี้ยงไหมอีกครั้งหนึ่ง โดยฟื้นฟูอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นการใหญ่ จัดตั้งโรงสาวไหมกลางขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นศูนย์กลางของกสิกรไหมในเขตภาคตะ-วันออกเฉียงเหนือ ๑๔ จังหวัด ในระยะนั้นมีรายงานของกรมเกษตรและการประมงว่ามีกสิกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอยู่ถึง ๓๐๐,๐๐๐ ครัวเรือน การส่งเสริมการเลี้ยงไหมในระยะนั้นเป็นไปอย่างลุ่มๆ ดอนๆ เพราะขาดกำลังทรัพย์และกำลังคน รังไหมที่ผลิตได้ก็มีคุณภาพต่ำมาก โรงสาวไหมกลางก็ต้องหยุดกิจการไป ประกอบทั้งมีสงครามเอเชียบูรพาด้วย จึงทำให้การเลี้ยงไหมชะงักไปเกือบ ๓๐ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๔ รัฐบาลจึงได้หันมาส่งเสริมกันใหม่อีก งานด้านส่งเสริมดำเนินเรื่อยๆมา โดยจัดตั้งหมวดส่งเสริมการเลี้ยงไหมขึ้นที่ปากช่องพุทไธสง หนองคาย ขอนแก่น ร้อยเอ็ด จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๕ จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นสถานีส่งเสริมการเลี้ยงไหม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมา กรมกสิกรรรมจึงโอนงานมาดำเนินการขยายสถานีส่งเสริมการเลี้ยงไหมขึ้นอีก ๒ แห่ง คือ สถานีส่งเสริมการเลี้ยงไหม ที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดบุรีรัมย์และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่นตามแผนโคลัมโบก่อตั้งศูนย์วิจัยและอบรมไหมนครราชสีมาขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินงานค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างจริงจัง และเป็นศูนย์กลางวิชาการเรื่องหม่อน ไหมที่จะนำไปส่งเสริมให้กสิกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมตามแผนใหม่ให้ได้ผลดีเช่นเดียวกับต่างประเทศ นอกจากนี้ สถานศึกษาในระดับสูง เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และวิทยาลัยเกษตรกรรมต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ได้เปิดสอนวิชาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมความรู้ในระดับการศึกษาชั้นสูงควบคู่กันไปด้วย
ปัจจัยสำคัญในการประกอบอาชีพ นี้มี ๕ ประการ คือ
มนุษย์รู้จักการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาไม่ต่ำกว่า ๔,๐๐๐ ปีแล้ว จีนเป็นชาติแรกที่นำเส้นใยไหมมาทอเป็นอาภรณ์เครื่องนุ่งห่ม และเป็นผู้ผูกขาดทำสินค้าผ้าไหมส่งไปขายต่างประเทศเป็นเวลานานกว่า ๑,๐๐๐ ปี ความลับเรื่องไหมจึงได้แพร่ไปถึงประเทศญี่ปุ่น ประมาณ พ.ศ. ๗๓๘ และที่ยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อิตาลีประมาณ พ.ศ. ๑๘๑๘ ในอินเดียไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า ได้รับความรู้นี้ไปจากจีน หรือคิดค้นขึ้นเอง แต่เชื่อว่า อินเดียมีการเลี้ยงไหมมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล คือ ไม่ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ ปี เพราะมีบันทึกในพุทธบัญญัติไว้ว่า ห้ามสาวกของพระพุทธเจ้าบิณฑบาตผ้าที่ใช้ทำที่รองนั่ง (สันถัต) ที่ทำจากไหม
สำหรับวิชาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในเมืองไทยสันนิษฐานว่าได้รับมาจากจีน ในสมัยโบราณที่ไทยเสียดินแดนให้แก่จีนก็อพยพถอยร่นลงมายังตอนใต้ของแหลมอินโดจีน ซึ่งคนไทยที่อพยพสมัยนั้น คงจะนำความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไหมติดตัวมาด้วย และได้เลี้ยงไหมสืบต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า-อยู่หัวทรงสนพระทัยในเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงเกษตราธิการดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงไหม โดยว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ซึ่งมี ดร. โทยามา เป็นหัวหน้าคณะให้มาสร้างสถานีเลี้ยงไหมปลูกหม่อน ณ ตำบลทุ่งศาลาแดง กรุงเทพฯ และได้ยกแผนกไหมขึ้นเป็น "กรมช่างไหม" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ แล้วขยายงานจัดตั้งสาขาขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ - ๒๔๔๘ ได้ตั้งสาขาขึ้นอีกที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด กิจการก้าวหน้าเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๕๖ การส่งเสริมการเลี้ยงไหมจึงชะงักและล้มเลิกไป เพราะมีอุปสรรคนานาประการ เช่น ไหมเป็นโรคตายเป็นจำนวนมาก จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๘ ทางราชการได้กลับมาสนใจการเลี้ยงไหมอีกครั้งหนึ่ง โดยฟื้นฟูอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นการใหญ่ จัดตั้งโรงสาวไหมกลางขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นศูนย์กลางของกสิกรไหมในเขตภาคตะ-วันออกเฉียงเหนือ ๑๔ จังหวัด ในระยะนั้นมีรายงานของกรมเกษตรและการประมงว่ามีกสิกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอยู่ถึง ๓๐๐,๐๐๐ ครัวเรือน การส่งเสริมการเลี้ยงไหมในระยะนั้นเป็นไปอย่างลุ่มๆ ดอนๆ เพราะขาดกำลังทรัพย์และกำลังคน รังไหมที่ผลิตได้ก็มีคุณภาพต่ำมาก โรงสาวไหมกลางก็ต้องหยุดกิจการไป ประกอบทั้งมีสงครามเอเชียบูรพาด้วย จึงทำให้การเลี้ยงไหมชะงักไปเกือบ ๓๐ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๔ รัฐบาลจึงได้หันมาส่งเสริมกันใหม่อีก งานด้านส่งเสริมดำเนินเรื่อยๆมา โดยจัดตั้งหมวดส่งเสริมการเลี้ยงไหมขึ้นที่ปากช่องพุทไธสง หนองคาย ขอนแก่น ร้อยเอ็ด จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๕ จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นสถานีส่งเสริมการเลี้ยงไหม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมา กรมกสิกรรรมจึงโอนงานมาดำเนินการขยายสถานีส่งเสริมการเลี้ยงไหมขึ้นอีก ๒ แห่ง คือ สถานีส่งเสริมการเลี้ยงไหม ที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดบุรีรัมย์และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่นตามแผนโคลัมโบก่อตั้งศูนย์วิจัยและอบรมไหมนครราชสีมาขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินงานค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างจริงจัง และเป็นศูนย์กลางวิชาการเรื่องหม่อน ไหมที่จะนำไปส่งเสริมให้กสิกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมตามแผนใหม่ให้ได้ผลดีเช่นเดียวกับต่างประเทศ นอกจากนี้ สถานศึกษาในระดับสูง เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และวิทยาลัยเกษตรกรรมต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ได้เปิดสอนวิชาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมความรู้ในระดับการศึกษาชั้นสูงควบคู่กันไปด้วย
ปัจจัยสำคัญในการประกอบอาชีพ นี้มี ๕ ประการ คือ
๑. หม่อน ต้องมีพันธุ์หม่อนที่ดีและปริมาณมากพอ
๒. ไหม ต้องมีพันธุ์ไหมที่ดี แข็งแรง โตเร็ว ทนทานต่อโรค ให้ผลผลิตสูง
๓. วิธีการเลี้ยง ต้องดัดแปลงวิธีเลี้ยงที่ทำให้ไหมโตเร็วแข็งแรง ประหยัดแรงงาน
๔.โรคและแมลงศัตรูของหม่อนและไหม ต้องควบคุมโรคและแมลงต่างๆ ที่ทำความเสียหายแก่หม่อนหรือไหมให้ได ๕. การจัดการ การวางแผนการเลี้ยงที่ถูกต้อง กล่าวคือการดูแลสวนหม่อนระยะไหน ควรปฏิบัติตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยอย่างไร และกะระยะเวลาเริ่มเลี้ยงไหมตอนไหน ต้องกระทำให้สัมพันธ์กับสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต และระยะที่มีใบหม่อนมากเพียงพอในขณะที่เลี้ยง ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป
๒. ไหม ต้องมีพันธุ์ไหมที่ดี แข็งแรง โตเร็ว ทนทานต่อโรค ให้ผลผลิตสูง
๓. วิธีการเลี้ยง ต้องดัดแปลงวิธีเลี้ยงที่ทำให้ไหมโตเร็วแข็งแรง ประหยัดแรงงาน
๔.โรคและแมลงศัตรูของหม่อนและไหม ต้องควบคุมโรคและแมลงต่างๆ ที่ทำความเสียหายแก่หม่อนหรือไหมให้ได ๕. การจัดการ การวางแผนการเลี้ยงที่ถูกต้อง กล่าวคือการดูแลสวนหม่อนระยะไหน ควรปฏิบัติตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยอย่างไร และกะระยะเวลาเริ่มเลี้ยงไหมตอนไหน ต้องกระทำให้สัมพันธ์กับสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต และระยะที่มีใบหม่อนมากเพียงพอในขณะที่เลี้ยง ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป
ชนิดของผ้า
ผ้ากาบบัว (Lotus Spathe / Lai Kab Bua Fabric)
1. ผ้ากาบบัว หมายถึง ผ้าที่มีลวดลายเอกลักษณ์ เป็นลายริ้วตามลักษณะของผ้าซิ่น
ลายทิว โดยใช้เส้นด้ายยืนอย่างน้อย 2 สี และใช้เส้นด้ายพุ่งหลายสีและทอด้วยเทคนิค
แบบต่างๆประกอบด้วย การสอดเส้นด้ายพุ่งควบเส้น(เส้นด้ายหางกระรอกหรือมับไม)
เส้นด้ายพุ่งมัดหมี่และการสอดลวดลายแบบขิด
2. ผ้ากาบบัวจก หมายถึง ผ้ากาบบัวที่เส้นด้ายยืนเป็นลายริ้ว และเพิ่มเติมโดยใช้
วิธีจกหรือสอดเฉพาะเส้นด้ายสีให้เกิดลวดลายเป็นช่วง ๆ ที่เรียกว่า ลายกระจุกดาว
หรือเกาะลายดาว
3. ผ้ากาบบัวยก หรือผ้ากาบบัวคำ หมายถึง ผ้ายก บางครั้งเรียกขิด มีลวดลาย
เต็มผืนผ้าซึ่งผู้ทอต้องใช้ความประณีต ใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดเพิ่มเติมตรงส่วน
ที่เป็นลวดลาย เช่น ดิ้นทอง หรืออาจสอดแทรกด้วยดิ้นเงิน หรือดิ้นสีต่างๆ หรือ
ใช้ไหมสีต่างๆ
4. เส้นด้ายฝ้าย หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากปุยฝ้าย
5. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม
6. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์
ผ้าแพรวา (Prae Wa Fabric)
1. ผ้าแพรวา หมายถึง ผ้าที่มีลวดลายเอกลักษณ์ ประกอบด้วยลายดอกใหญ่หรือ
ลายหลัก ลายคั่น และลายเชิงผ้าการทอจะใช้ขนเม่นหรือไม้ปลายแหลมเขี่ยหรือ
สะกิดเส้นด้ายยืนให้สูงขึ้นตามลวดลายที่กำหนด ปัจจุบันใช้ตะกอพิเศษสำหรับ
ยกเส้นด้ายยืนตามลวดลายที่ได้จัดเตรียมไว้ แล้วใช้นิ้วจกเส้นด้ายที่เพิ่มพิเศษ
แต่ละสีให้เกาะเกี่ยวเป็นลวดลายอยู่ในแถวเดียวกันเหมือนการทอจก หรือสอด
เส้นด้ายพุ่งที่เพิ่มพิเศษเพียงสีเดียวเป็นลวดลายยาวตลอดหน้าผ้าเหมือนการ
ทอขิด หรือสอดเส้นด้ายพุ่งที่เพิ่มพิเศษเป็นลวดลายให้อยู่ห่างกันเป็นช่วงๆ
หรือเป็นกลุ่มๆ ผ้าแพรวามีทั้งแบบใช้เส้นด้ายพุ่งที่เพิ่มพิเศษหลายสีในลวดลาย
ซ้ำกันและไม่ซ้ำกันตลอดทั้งผืน ผ้าแพรวาสองสี และผ้าแพรวาจกดาว
2. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม
ผ้าขิด (Khit Fabric)
1. ผ้าขิด หมายถึง ผ้าลวดลายที่ได้จากการทอด้วยการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษ
โดยใช้ขนเม่นหรือไม้ปลายแหลมงัด ช้อน หรือสะกิดเส้นด้ายยืนบางเส้นให้
สูงขึ้น และเว้นบางเส้นไว้เป็นช่วงๆ ตลอดหน้าผ้า ทำให้เส้นด้ายยืนเกิดเป็น
ช่องว่างเล็กบ้างใหญ่บ้างตามจังหวะของลวดลายที่กำหนด เรียกว่า “เก็บขิด”
ปัจจุบันใช้ตะกอ (เขา) ที่ทำขึ้นพิเศษสำหรับยกเส้นด้ายยืน แล้วจึงสอดเส้น
ด้ายพุ่งที่เพิ่มพิเศษตามช่องเส้นด้ายยืนไปจนตลอดความกว้างของหน้าผ้า
2. เส้นด้ายฝ้าย หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากปุยฝ้าย
3. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม่
4. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์
ผ้าหางกระรอก
1. ผ้าหางกระรอก หรืออาจเรียกว่า “ผ้าควบเส้น” หมายถึง ผ้าลวดลาย
ที่ได้จากการทอโดยใช้เทคนิคการควบเส้นด้ายที่มีสีต่างกันตั้งแต่ 2 เส้น
ขึ้นไป แล้วปั่นตีเกลียวรวมเป็นเส้นเดียวกัน ใช้ทอเป็นเส้นด้ายพุ่งหรือเป็น
เส้นด้ายยืนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ทั้งสองอย่างในผ้าผืนเดียวกัน
2. เส้นด้ายฝ้าย หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากปุยฝ้าย
3. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม
4. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์
ผ้ามัดหมี่ (Mudmee Fabric)
1. ผ้ามัดหมี่ หมายถึง ผ้าลวดลายที่ได้จากการทอโดยใช้เส้นด้ายที่ใช้
เทคนิคการมัดย้อมเส้นด้าย โดยการใช้เชือกมัดให้เป็นลวดลายตามที่
กำหนดก่อนแล้วจึงนำไปย้อมสี จะมัดย้อมกี่สีก็ได้ตามต้องการ แล้วจึง
นำไปทอ เทคนิคการมัดย้อมเส้นด้ายมี 3 แบบ คือ มัดหมี่ที่ย้อม
เฉพาะเส้นด้ายพุ่ง มัดหมี่ที่ย้อมเฉพาะเส้นด้ายยืน และมัดหมี่ที่ย้อม
ทั้งเส้นด้ายยืนและเส้นด้ายพุ่ง และให้รวมถึงผ้ามัดหมี่ที่นำลายทออื่น
มาเป็นลายประกอบหรือลายคั่น เช่น ลายขิด
2. เส้นด้ายฝ้าย หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากปุยฝ้าย
3. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม
4. เส้นด้ายใยปะดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์
ผ้าทอมือลายขัดพื้นฐาน
1. ผ้าทอมือลายขัดพื้นฐาน ซึ่งต่อไปในมาตรฐานนี้จะเรียกว่า “ผ้าทอลายขัด”
หมายถึง ผ้าทอลายขัดแบบพื้นฐานที่เกิดจากการขัดสานกันระหว่างเส้น
ด้ายยืนกับเส้นด้ายพุ่ง โดยปกติในโครงสร้างผ้า 1 ลายซ้ำจะประกอบด้วย
เส้นด้ายยืน 1 เส้น และเส้นด้ายพุ่ง 2 เส้น ขัดกัน แต่ทั้งนี้อาจใช้เส้นด้ายยืน
มากกว่า 2 เส้น และเส้นด้ายพุ่งมากกว่า 1 เส้นก็ได้
2. เส้นด้ายใยธรรมชาติ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากใยธรรมชาติของ
พืช เช่น ปุยฝ้าย ใยกัญชง ใยสับปะรด
3. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม
4. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์
ผ้าลายน้ำไหล (Lai Nam Lai Fabric)
1. ผ้าลายน้ำไหล หรืออาจเรียกว่า “ผ้าทอแบบเกาะหรือล้วง” หมายถึง
ผ้าลวดลายที่ได้จากเทคนิคการทอโดยใช้เส้นด้ายพุ่งหลายสีสอดย้อน
กลับไปมาเป็นช่วงๆ ด้วยเทคนิคการทอแบบขัดสานธรรมดา และใช้
วิธีผูกห่วงรอบเส้นด้ายยืนเพื่อเกาะเกี่ยวและยึดเส้นด้ายพุ่งแต่ละช่วง
ไว้เป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อผ้ามีทั้งการทอลวดลายต่อ
เนื่องเต็มผืนผ้า หรือทอเป็นลวดลายบางส่วน หรือทอเป็นลวดลาย
ผสมผสานกับลวดลายอื่น เช่น ลายพื้นสีต่างๆ ลายจก ลายขิด อาจ
สอดแทรกด้วยเส้นไหมแท้หรือดิ้นสีต่างๆ
2. เส้นด้ายฝ้าย หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากปุยฝ้าย
3. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม
4. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์ และดิ้น
ผ้าจก (Jok Fabric)
1. ผ้าจก หมายถึง ผ้าลวดลายที่ได้จากเทคนิคการทอโดยใช้นิ้วมือหรือวัสดุ
ปลายแหลม เช่น ขนเม่น นับเส้นด้ายยืน ยกขึ้น แล้วจกเส้นด้ายเพิ่มพิเศษสี
ต่างๆ ตามลวดลายที่ต้องการ ผ้าจกมีทั้งลวดลายจกเต็มผืนผ้า หรือลวดลาย
จกเป็นบางส่วน หรือลวดลายจกผสมผสานกับลวดลายอื่น เช่น ลายขิด
อาจสอดแทรกด้วยเส้นด้ายฝ้าย หรือเส้นไหมแท้ หรือเส้นด้ายใยประดิษฐ์
หรือเส้นใยโลหะ
2. เส้นด้ายฝ้าย หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากปุยฝ้าย
3. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม
4. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์ และดิ้น
5. เส้นใยโลหะ หมายถึง เส้นใยที่ได้จากการรีดเส้นเงิน หรือเส้นทอง
ผ้ายกมุก (Yok Muk Fabric)
1. ผ้ายกมุก หมายถึง ผ้าที่มีลวดลายเอกลักษณ์ที่ได้จากการเพิ่มเส้นด้ายยืน
พิเศษด้วยเทคนิคการทอโดยใช้เส้นด้ายยืน 1 ชุด ชุดแรกใช้เส้นด้ายยืนสี
เดียวหรือหลายสีทอเป็นพื้นลายขัดธรรมดา ชุดที่สองใช้เส้นด้ายยืนที่เพิ่ม
พิเศษจากเส้นด้ายยืนธรรมดา มีสีเดียวหรือหลายสี อาจสอดแทรกด้วยเส้น
ไหม หรือดิ้นสีต่างๆ ลักษณะลวดลายผ้ายกมุกเป็นรูปลายซ้ำยาวติดต่อกัน
เป็นเส้นริ้วหรือแถบตามทิศทางของเส้นด้ายยืน ลวดลายเรียงชิดติดกัน
หรือเว้นระยะห่างกันจนเต็มหน้าผ้า
2. เส้นด้ายฝ้าย หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากปุยฝ้าย
3. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม
4. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์ และดิ้น
5. เส้นด้ายยืนพิเศษ หมายถึง เส้นด้ายยืนอีกชุดหนึ่งสำหรับใช้ยกดอก มี
สีเดียว หรือหลายสี
ผลิตภัณฑ์ม่อฮ่อม(Mo Hom Fabric)
1. ผลิตภัณฑ์ม่อฮ่อม หรือผลิตภัณฑ์หม้อฮ่อม หรือผลิตภัณฑ์หม้อห้อม
หมายถึง ผ้าผืนและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่นำผ้ามาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า และเครื่องใช้
ต่างๆ ย้อมมือด้วยสีธรรมชาติจากต้นฮ่อมหรือต้นคราม มีสีน้ำเงิน อาจนำไปผ่าน
กระบวนการตกแต่งด้วยวิธีต่างๆ เช่น การฟอกสี การปักลวดลาย การเขียนลาย
ด้วยสี เขียนลวดลายด้วยเทียนแล้วนำไปย้อมสี การปักปะด้วยผ้าลวดลายต่างๆ
การด้นมือ การมัดย้อม
1. ผลิตภัณฑ์ม่อฮ่อม หรือผลิตภัณฑ์หม้อฮ่อม หรือผลิตภัณฑ์หม้อห้อม
หมายถึง ผ้าผืนและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่นำผ้ามาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า และเครื่องใช้
ต่างๆ ย้อมมือด้วยสีธรรมชาติจากต้นฮ่อมหรือต้นคราม มีสีน้ำเงิน อาจนำไปผ่าน
กระบวนการตกแต่งด้วยวิธีต่างๆ เช่น การฟอกสี การปักลวดลาย การเขียนลาย
ด้วยสี เขียนลวดลายด้วยเทียนแล้วนำไปย้อมสี การปักปะด้วยผ้าลวดลายต่างๆ
การด้นมือ การมัดย้อม
ผ้าบาติก (Batik Fabric)
1. ผ้าบาติก หมายถึง ผ้าที่ใช้เทคนิคการทำลวดลายโดยใช้เทียนเขียน หรือพิมพ์
เส้นเทียนลงบนส่วนของผืนผ้าที่ไม่ต้องการให้ติดสี และระบายหรือย้อมสีในส่วน
ที่ต้องการให้ติดสี
2. เส้นด้ายใยธรรมชาติ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากใยธรรมชาติของพืช
3. เส้นด้ายใยเซลลูโลสประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการนำเซลลูโลส
ธรรมชาติ เช่น เนื้อไม้ เศษใยฝ้ายมาผ่านกระบวนการสังเคราะห์
1. ผ้าบาติก หมายถึง ผ้าที่ใช้เทคนิคการทำลวดลายโดยใช้เทียนเขียน หรือพิมพ์
เส้นเทียนลงบนส่วนของผืนผ้าที่ไม่ต้องการให้ติดสี และระบายหรือย้อมสีในส่วน
ที่ต้องการให้ติดสี
2. เส้นด้ายใยธรรมชาติ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากใยธรรมชาติของพืช
3. เส้นด้ายใยเซลลูโลสประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการนำเซลลูโลส
ธรรมชาติ เช่น เนื้อไม้ เศษใยฝ้ายมาผ่านกระบวนการสังเคราะห์
ผ้ามัดย้อม (Tied - Dyed Fabric)
1. ผ้ามัดย้อม หมายถึง ผ้าที่ใช้เทคนิคการทำลวดลายโดยการมัดผ้าที่ทอสำเร็จ
แล้ว ด้วยวิธีการต่างๆเช่น พับ มัด เย็บ และใช้อุปกรณ์อื่นๆ ให้เป็นลวดลายตามที่
กำหนด แล้วจึงนำไปย้อมสี
2. เส้นด้ายใยธรรมชาติ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากใยธรรมชาติของพืช
3. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์
4. เส้นด้ายใยเซลลูโลสประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการนำเซลลูโลส
ธรรมชาติ เช่น เนื้อไม้ เศษใยฝ้ายมาผ่านกระบวนการสังเคราะห์
1. ผ้ามัดย้อม หมายถึง ผ้าที่ใช้เทคนิคการทำลวดลายโดยการมัดผ้าที่ทอสำเร็จ
แล้ว ด้วยวิธีการต่างๆเช่น พับ มัด เย็บ และใช้อุปกรณ์อื่นๆ ให้เป็นลวดลายตามที่
กำหนด แล้วจึงนำไปย้อมสี
2. เส้นด้ายใยธรรมชาติ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากใยธรรมชาติของพืช
3. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์
4. เส้นด้ายใยเซลลูโลสประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการนำเซลลูโลส
ธรรมชาติ เช่น เนื้อไม้ เศษใยฝ้ายมาผ่านกระบวนการสังเคราะห์
ผ้ายก (Yok Fabric)
1. ผ้ายก หมายถึง ผ้าลวดลายที่มีเทคนิคการทอคล้ายกับผ้าขิด โดยการยก
ตะกอเพิ่มลวดลายในเนื้อผ้าให้พิเศษหรือสลับซับซ้อน ลวดลายนูนที่เกิดขึ้น
บนผืนผ้านั้น อาจจะยกด้วยเส้นไหมหรือดิ้นสีต่างๆ ก็ได้ ผ้ายกอาจเป็นผ้าซิ่น
หรืออาจยกเฉพาะเชิงซิ่น หรือยกลายตลอดทั้งผืนพร้อมตีนซิ่น หรืออาจมี
หน้านาง
2. เส้นด้ายฝ้าย หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากปุยฝ้าย
3. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์ และดิ้น
4. เส้นด้ายใยผสม หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากใยประดิษฐ์ผสมกับใยธรรมชาติ
5. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม
6. ตะกอ หมายถึง ส่วนประกอบของกี่ทอผ้า ทำหน้าที่ยกเส้นด้ายยืนเพื่อให้
เกิดเป็นลวดลาย
1. ผ้ายก หมายถึง ผ้าลวดลายที่มีเทคนิคการทอคล้ายกับผ้าขิด โดยการยก
ตะกอเพิ่มลวดลายในเนื้อผ้าให้พิเศษหรือสลับซับซ้อน ลวดลายนูนที่เกิดขึ้น
บนผืนผ้านั้น อาจจะยกด้วยเส้นไหมหรือดิ้นสีต่างๆ ก็ได้ ผ้ายกอาจเป็นผ้าซิ่น
หรืออาจยกเฉพาะเชิงซิ่น หรือยกลายตลอดทั้งผืนพร้อมตีนซิ่น หรืออาจมี
หน้านาง
2. เส้นด้ายฝ้าย หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากปุยฝ้าย
3. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์ และดิ้น
4. เส้นด้ายใยผสม หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากใยประดิษฐ์ผสมกับใยธรรมชาติ
5. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม
6. ตะกอ หมายถึง ส่วนประกอบของกี่ทอผ้า ทำหน้าที่ยกเส้นด้ายยืนเพื่อให้
เกิดเป็นลวดลาย
ผ้ายกดอก (Yok Dok Fabric)
1. ผ้ายกดอก หมายถึง ผ้าลวดลายที่ได้จากการทอโดยการยกตะกอเพิ่ม
ลวดลายในเนื้อผ้าตั้งแต่ 3 ถึง 8 ตะกอ มีรูปแบบของลวดลายซ้ำๆ เรียงยาว
ติดต่อกันเป็นริ้วหรือเป็นแถบตามทิศทางของเส้นด้ายยืน ลวดลายจะเรียงชิด
ติดกัน หรือเว้นระยะอยู่ห่างๆ พองามเต็มผืนผ้า
2. เส้นด้ายฝ้าย หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากปุยฝ้าย
3. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์ และดิ้น
4. เส้นด้ายใยผสม หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากใยประดิษฐ์ผสมกับใยธรรมชาติ
5. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม
6. ตะกอ หมายถึง ส่วนประกอบของกี่ทอผ้า ทำหน้าที่ยกเส้นด้ายยืนเพื่อให้
เกิดเป็นลวดลาย
1. ผ้ายกดอก หมายถึง ผ้าลวดลายที่ได้จากการทอโดยการยกตะกอเพิ่ม
ลวดลายในเนื้อผ้าตั้งแต่ 3 ถึง 8 ตะกอ มีรูปแบบของลวดลายซ้ำๆ เรียงยาว
ติดต่อกันเป็นริ้วหรือเป็นแถบตามทิศทางของเส้นด้ายยืน ลวดลายจะเรียงชิด
ติดกัน หรือเว้นระยะอยู่ห่างๆ พองามเต็มผืนผ้า
2. เส้นด้ายฝ้าย หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากปุยฝ้าย
3. เส้นด้ายใยประดิษฐ์ หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากการสังเคราะห์ และดิ้น
4. เส้นด้ายใยผสม หมายถึง เส้นด้ายที่ได้จากใยประดิษฐ์ผสมกับใยธรรมชาติ
5. เส้นไหมแท้ หมายถึง เส้นใยธรรมชาติที่ได้จากใยโปรตีนของรังไหม
6. ตะกอ หมายถึง ส่วนประกอบของกี่ทอผ้า ทำหน้าที่ยกเส้นด้ายยืนเพื่อให้
เกิดเป็นลวดลาย
ตัวกี่ทอผ้าประกอบด้วยชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้
1. โครงกี่ ทำหน้าที่ยึดและติดตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ
ใหอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและทำงานได้
2. ม้วนด้ายยืน - ม้วนผ้า ทำหน้าที่ม้วนเส้นด้ายยืนเพื่อไว้ใช้ทอตามจำนวนต้องการและ ม้วนผ้า ใช้สำหรับม้วนผ้าที่ทอแล้ว
3. ฟันหวี ใช้กำหนดจำนวนเส้นด้ายยืนต่อหน่วยความกว้างที่กำหนดเป็นเบอร์ เช่น ฟันหวีเบอร์ 40 ในความกว้าง 1 นิ้ว จะมีช่องฟันหวี 20 ช่องและเมื่อร้อยเส้นด้ายเข้าไปในช่องหวี ช่องฟันหวีละ 2 เส้นจะมีเส้นด้ายรวม 40 เส้นต่อ 1 นิ้ว
4. ตะกอ คือส่วนที่ทำหน้าที่บังคับเส้นด้ายที่ร้อยอยู่ในตาหรือรูของตะกอ ให้ขึ้นลงสลับกันไปตามลักษณะของลายโครงสร้างผ้าที่กำหนด
2. ม้วนด้ายยืน - ม้วนผ้า ทำหน้าที่ม้วนเส้นด้ายยืนเพื่อไว้ใช้ทอตามจำนวนต้องการและ ม้วนผ้า ใช้สำหรับม้วนผ้าที่ทอแล้ว
3. ฟันหวี ใช้กำหนดจำนวนเส้นด้ายยืนต่อหน่วยความกว้างที่กำหนดเป็นเบอร์ เช่น ฟันหวีเบอร์ 40 ในความกว้าง 1 นิ้ว จะมีช่องฟันหวี 20 ช่องและเมื่อร้อยเส้นด้ายเข้าไปในช่องหวี ช่องฟันหวีละ 2 เส้นจะมีเส้นด้ายรวม 40 เส้นต่อ 1 นิ้ว
4. ตะกอ คือส่วนที่ทำหน้าที่บังคับเส้นด้ายที่ร้อยอยู่ในตาหรือรูของตะกอ ให้ขึ้นลงสลับกันไปตามลักษณะของลายโครงสร้างผ้าที่กำหนด
อุปกรณ์ยกตะกอระบบต่าง ๆ
1. ลูกรอกและคันยกตะกอคู่
2. ลูกกลิ้ง
3. คันยกและคันกด
4. ยกลายชิด ยกตีนจก
5. ด๊อกบี้
6. แจ็กการ์ด
2. ลูกกลิ้ง
3. คันยกและคันกด
4. ยกลายชิด ยกตีนจก
5. ด๊อกบี้
6. แจ็กการ์ด
เครื่องทอผ้าประกอบด้วยโครง ใช้สำหรับยึดส่วนต่าง ๆ ที่เป็นอุปกรณ์ในการทอผ้าไว้ประกอบด้วย
1. กี่
2. ฟืม
3. เขาหูก
4. ไม้ม้วนผ้าและหลักม้วนผ้า
5. ไม้สำหรับนั่งเวลาทอผ้า
6. คานแขวน
7. ด้ายยืน
8. กระสวย
9. ไม้แกนม้วนด้ายยืน
10. ผ้าที่ทอแล้วม้วนไว้ที่ไม้
11. หลอดด้ายพุ่ง
12. ไม้เหยียบสำหรับดึงเส้นด้ายให้ขึ้นลง
13. ผัง
2. ฟืม
3. เขาหูก
4. ไม้ม้วนผ้าและหลักม้วนผ้า
5. ไม้สำหรับนั่งเวลาทอผ้า
6. คานแขวน
7. ด้ายยืน
8. กระสวย
9. ไม้แกนม้วนด้ายยืน
10. ผ้าที่ทอแล้วม้วนไว้ที่ไม้
11. หลอดด้ายพุ่ง
12. ไม้เหยียบสำหรับดึงเส้นด้ายให้ขึ้นลง
13. ผัง
ขั้นตอนการทอผ้า
การทอผ้าด้วยมือระบบไทยและระบบสากล
มีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ พร้อมทั้งกรรมวิธีและขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างกัน
ดังนี้
ระบบไทย กรอด้าย ระบบสากล
เดินด้ายยืน ผูกโยงตะกอ - เท้าเหยียบ เดินด้ายยืน - ม้วน ตรวจ - ตกแต่ง
ร้อยเข้าฟันหวี เตรียมด้ายพุ่ง ร้อยเข้าตะกอ
หวีและม้วน ทอเป็นผืนผ้า ร้อยเข้าฟันหวี
ตรวจเส้นด้าย ( จัดตำเเหน่งตะกอ ) ตรวจ - ตกแต่ง ผูกโยงตะกอ - เท้าเหยียบ
เก็บตะกอ เตรียมด้ายพุ่ง
ทอเป็นผืนผ้า
ระบบไทย กรอด้าย ระบบสากล
เดินด้ายยืน ผูกโยงตะกอ - เท้าเหยียบ เดินด้ายยืน - ม้วน ตรวจ - ตกแต่ง
ร้อยเข้าฟันหวี เตรียมด้ายพุ่ง ร้อยเข้าตะกอ
หวีและม้วน ทอเป็นผืนผ้า ร้อยเข้าฟันหวี
ตรวจเส้นด้าย ( จัดตำเเหน่งตะกอ ) ตรวจ - ตกแต่ง ผูกโยงตะกอ - เท้าเหยียบ
เก็บตะกอ เตรียมด้ายพุ่ง
ทอเป็นผืนผ้า
การคำนวณเส้นด้าย
การคำนวณเส้นด้ายหมายถึง
การคำนวณปริมาณเส้นด้ายที่จะนำมาใช้การทอซึ่งจะนิยมคำนวณหาน้ำหนัก
และในการนี้เบอร์ของเส้นด้ายจะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะนำมาใช้เป็นสูตรของการคำนวณดังกล่าว
เส้นด้ายที่นิยมใช้เรียกหรือนับกันแพร่หลายในบ้านเรานั้นแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
เบอร์เส้นด้ายที่ได้จากการปั่นเส้นใยสั้น เช่น ด้ายฝ้าย ไหมปั่น ด้ายผสมใยสังเคราะห์และเบอร์เส้นด้ายที่ได้จากการสาวหรือผลิตจากใยยาง
เช่น ใยไหม ใยโปลีเอสเตอร์ ใยสังเคราะห์ จากโปรตีนหรือเซลลูโลส
การเตรียมด้ายยืนหรือเส้นยืน
หลังจากการปั่นใส่หลอดเรียบร้อยแล้วก็จะนำด้ายเหล่านั้นไปใส่เครื่องเดินด้วย
ซึ่งมีราวสำหรับบรรจุหลอดด้ายลงแคร่สำหรับเดินด้ายต่อไป
ราวนี้มีขนาดใหญ่สามารถบรรจุหลอดด้ายประมาณ 200 หลา
และแคร่สามารถบรรจุเส้นยืนได้ยาว 200 หลา
เมื่อเดินเส้นด้ายเสร็จแล้วก็จะปลดเอาด้ายออกมาจากแคร่และขมวดให้เป็นลูกโซ่เพื่อป้องกันมิให้เส้นด้ายยุ่ง
นำเก็บสำหรับหวีต่อไป ซึ่งเรียกว่าการเดินด้าย หรือจะใช้วิธีเดินด้ายโดยไม่ใช้เครื่องก็ได้
การร้อยฟันหวีและการหวีด้าย
การหวีด้ายคือการแผ่เส้นจากลักษณะที่เป็นกำอยู่ให้กระจายออกเป็นเเผ่นเรียบเสมอกันแล้วม้วนเก็บเข้าแกนของกงพันสำหรับตั้งบนกี่ต่อไป
จากนั้นจะต้องเอาปลายด้านหนึ่งของกำเส้นยืนเข้ากับฟันหวี ซึ่งมีฟันหวีและส่วนกว้างเท่ากับความต้องการแล้วผูกเข้ากับแกนของกงพันม้วนด้าย
ในการหวีด้ายจำเป็นที่จะต้องใช้ ผู้ปฏิบัติอย่างน้อย 2 คน
คนหนึ่งม้วนกงพัน อีกคนใช้พันหวี หวีด้ายให้เรียบร้อยและสม่ำเสมอกัน
และนำไปขึงบนกี่สำหรับเก็บตะกอต่อไป
การนำด้ายขึงบนกี่
เมื่อเรานำด้ายที่หวีด้ายเรียบร้อยแล้วความยาวตามความต้องการนำเอามาขึ้นกี่ที่จะใช้ในการทอผ้า
ปลายด้ายด้านหนึ่งม้วนเข้ากับเครื่องม้วนด้ายยืนด้านหน้าและปลายด้ายด้านติดกับฟืมม้วนเข้ากับไม้ม้วนผ้าด้านหลัง
การเก็บตะกอ
การเก็บตะกอด้าย หมายถึงการที่เรานำด้ายที่จะทอขึงขึ้นบนกี่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ก็มาถึงขั้นตอนการเก็บตะกอ
โดยการเก็บลวดลายหรือแบบที่เราจะทอตามที่ต้องการผูกเข้ากับเท้าเหยียบให้เรียบร้อยก่อน
เมื่อเก็บตะกอตามแบบที่เราต้องการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเริ่มการทอผ้าได้เลย
การเตรียมด้ายพุ่งหรือเส้นพุ่ง
นำด้ายฝ้ายที่จะใช้ในการทอผ้าตามลวดลายที่ต้องการแล้วมาเข้าเครื่องกรอด้ายเข้ากับหลอดหลายให้มีจำนวนมากตามจำนวนที่เราต้องการใช้ในการทอผ้าสำหรับ
ด้ายพุ่ง
ขอบคุณสำหรับผู้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และผู้ที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับผ้าไทยของเรา ด้วยนะคะ
ตอบลบ